ชื่อหลักสูตร
:
หลักสูตรการฝึกอบรมวิชาวิสัญญีพยาบาล (Training program
in nurse anesthetist)
ชื่อประกาศนียบัตร :
ประกาศนียบัตรวิสัญญีพยาบาล (post-diploma certificate
in nurse anesthetist)
คำอธิบายหลักสูตร :
เป็นหลักสูตรหลังปริญญาตรีใช้เวลาฝึกอบรม 1 ปี จัดฝึกอบรมโดยภาควิชาวิสัญญีวิทยาร่วมกับราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดปัญหาจากการขาดแคลนวิสัญญีแพทย์
และเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิสัญญีพยาบาลซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิชาการพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่าจากสถาบันพยาบาลที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รับรองและมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. 2535 เข้ารับการฝึกอบรมปีละประมาณ 5-10 คน
คุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30
-มีสัญชาติไทย
-อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
-เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
-ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบหรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ.
-ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
-ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
-ไม่ไป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
-ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
-ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาให้ถึงทีให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญาเว้น
แต่เป็นโทษสำหรับความ ผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
-ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออกหรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น
ของรัฐเป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
-ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
-ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ
วัตถุประสงค์
-เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถ
1. ให้ยาระงับความรู้สึกทั่วไปได้ภายใต้การควบคุมของวิสัญญีแพทย์
2. ให้การดูแลผู้ป่วยหลังจากที่ผู้ป่วยได้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่โดยวิสัญญีแพทย์
ภาคทฤษฏี ประกอบด้วย
- ทฤษฎีวิสัญญีวิทยา
- การประชุมวิชาการและการบรรยายพิเศษ
- กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ภาคปฏิบัติ
-เป็นการปฏิบัติงานตามสถานที่ต่างๆที่มีงานวิสัญญีฯเกี่ยวข้องด้วย
โดยผู้เข้าฝึกอบรมต้องบันทึกรายการการฝึกอบรมภาคปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานของอนุกรรมการฯ
หลักเกณฑ์การประเมินผล
ประกอบด้วยการประเมินผลของสถาบันฝึกอบรม และของคณะอนุกรรมการฯ
ดังนี้
1) การประเมินผลของสถาบันฝึกอบรม จะประกอบด้วย
1.1 การสอบภาคทฤษฎี ตลอดปีคิดเป็น 50%
1.2 การสอบภาคปฏิบัติ ประกอบด้วยคะแนนสอบต่างๆ ดังนี้
1.2.1 คะแนนปฏิบัติตลอดปี 25%
1.2.2 คะแนนรายงานผู้ป่วย 10%
1.2.3 คะแนนสอบปฏิบัติผู้ป่วย 15%
หมายเหตุ 1. คะแนนปฏิบัติตลอดปี 25% พิจารณาจาก
- เวลาปฏิบัติงาน
- ความขยันหมั่นเพียร
- ความรับผิดชอบ
- ความสามารถในการปฏิบัติงาน
- มนุษยสัมพันธ์
- รายงานการปฏิบัติงานประจำวัน
- การเข้ารับฟังการประชุมวิชาการ การบรรยายต่างๆของสถาบัน
2.
คะแนนรายงานผู้ป่วย 10% พิจารณาจาก
- การเขียนรายงานการปฏิบัติผู้ป่วยอย่างน้อย 3 ราย/ปี
2) การประเมินผลของคณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วยการสอบภาคทฤษฏี โดยใช้
ข้อสอบของคณะอนุกรรมการควบคุมฯ ดังมีรายละเอียดดังนี้
2.1 ข้อสอบจะแบ่งเป็น 2 ชุด คือ ชุด ก และชุด ข แต่ละชุดมี
100 ข้อ เป็นข้อสอบที่
เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ให้เวลาสอบ 2 ชั่วโมงต่อหนึ่งชุด
(หัวข้อที่จะสอบตามเอกสารประกอบ)
2.2 กำหนดวันสอบของแต่ละปีการศึกษาจะแจ้งให้ผู้เข้าฝึกอบรมทราบล่วงหน้าอย่างน้อย
2 เดือน
เกณฑ์สอบผ่าน ผู้เข้าฝึกอบรมจะต้องผ่านเกณฑ์การสอบดังนี้
คือ
เกณฑ์ของสถาบันฝึกอบรม
-ผู้เข้าฝึกอบรมจะต้องมีเวลาปฏิบัติงาน การเขียนรายงาน,
การเก็บข้อมูลผู้ป่วย ฯลฯ ครบตามข้อกำหนดของแต่ละสถาบัน
-ผู้เข้าฝึกอบรมจะต้องสอบผ่านทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
โดยมีคะแนนทั้งสองภาคร่วมกันไม่น้อยกว่า 60%
เกณฑ์ของคณะอนุกรรมการควบคุมฯ
- ผู้เข้าฝึกอบรม จะต้องสอบผ่านข้อสอบ ของคณะอนุกรรมการฯ
โดยได้คะแนน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า60% หรือ พิจารณาตามแนวทางการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์และ
อิงกลุ่ม
- ถ้าผู้เข้าฝึกอบรมสอบไม่ผ่านข้อสอบของคณะอนุกรรมการฯ
จะให้มีการสอบแก้ ตัวใหม่ภายใน 1 เดือน ถ้าสอบไม่ผ่านอีกให้มีสิทธิ์สอบใหม่ได้ในปีการศึกษาถัด
ไป อีก 1 ครั้ง
การลา
- ไม่มีพักร้อน,สถาบันพิจารณาให้ลากิจ
และลาป่วยได้ไม่เกิน 10 วัน หากขาดโดยไม่ลา หรือไม่มีเหตุผลและลาเกินกำหนดมีโทษดังนี้
- โทษเบา ชดใช้ 1x3 เท่า
- โทษหนัก ชดใช้ 1x5 เท่า
โทษหนัก คือ ขาดวันที่อยู่เวร วันที่ต้องรายงานประชุมวิชาการ
การลากิจ ต้องส่งใบลาล่วงหน้า 3 วัน
การลาป่วย หากเกิน 3 วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์
ประกาศนียบัตร
ออกให้โดยราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย
ร่วมกับสถาบันฝึกอบรม
การศึกษาต่อเนื่อง
วิสัญญีพยาบาลที่จบการฝึกอบรมตามหลักสูตรของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยทีสิทธิ์เข้ารับการศึกษาต่อเนื่อง
ที่ราชวิทยาลัยฯ จัดขึ้นดังนี้
- การประชุมวิชาการประจำปี
- การประชุมวิชาการพิเศษระหว่างปี
- การจัดประชุมวิชาการวิสัญญีสัญจร ปีละ 2-4 ครั้ง
-การประชุมวิชาการที่ราชวิทยาลัยฯ จัดวิทยากรให้ตามที่โรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคขอมา