ความรู้สำหรับประชาชน
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ควรรู้
  - ไวรัสตับอักเสบบีและซีกับมะเร็งตับ
  - มะเร็งปากมดลูกและวัคซีน
  - มะเร็งศีรษะและลำคอ
  - มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  - มะเร็งผิวหนัง
  - มะเร็งรังไข่
  - มะเร็งโพรงหลังจมูก
  - มะเร็งช่องปาก
  - มะเร็งต่อมไทรอยด์
  - มะเร็งกล่องเสียง
  - เนื้องอกสมอง
  - มะเร็งกระเพาะอาหาร
  - มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
  - มะเร็งหลอดอาหาร
  - มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  - มะเร็งต่อมลูกหมาก
  - มะเร็งตับ
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  - มะเร็งเต้านม
  - มะเร็งปอด
  - มะเร็งปากมดลูก
 
ความรู้โรคมะเร็ง
 
 
มะเร็งกระเพาะอาหาร
 
     
 
วันที่ 19 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
          มะเร็งกระเพาะอาหารจะพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในประเทศไทยการส่องกล้องตรวจผู้ป่วยที่มาด้วยอาการโรคกระเพาะอาหารพบว่า มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะประมาณร้อยละ 2 อาการของโรคกระเพาะอาหารได้แก่อาการปวดท้อง แน่นท้อง หรือท้องอืด โดยจะมีอาการบริเวณลิ้นปี่ถึงสะดือ อิ่มเร็ว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หากมีอาการดังกล่าวควรจะไปพบแพทย์เพื่อจะได้รับการประเมินหาสาเหตุที่แน่นอนชัดเจนต่อไป
 
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร :
          ได้แก่ ความผิดปกติทางพันธุกรรม การติดเชื้อเฮริโคแบคเตอร์ ไพโรไล (Helicobactor Pyroli) ในกระเพาะอาหาร ความผิดปกติของเยื่อบุกระเพาะอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มสุราจำนวนมาก ส่วนประกอบในอาหารซึ่งมีสารบางชนิดในเนื้อสัตว์หมัก เช่น ไส้กรอก แหนม ปลาร้าหรือเนื้อย่าง อาหารที่มีเกลือมาก หรืออาหารที่มีปริมาณของวิตามินซีน้อย อาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
 
วิธีวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหาร :
          การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ เป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงสุด
   
การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร :
          วิธีการผ่าตัดเป็นวิธีที่อาจจะทำให้โรคหายได้ ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะที่ 1 – 2 นอกจากนี้การผ่าตัดจะช่วยบรรเทาอาการแก่ผู้ป่วยได้ด้วย
          ส่วนการป้องกันการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารนั้นในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจน แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจจะแก้ไขได้เช่น การรักษาการติดเชื้อเฮริโคแบคเตอร์ไพโรไล การหลีกเลี่ยงการรับประทานของหมักดอง อาหารรสเค็มจัด ของปิ้งย่าง การกินอาหารที่มีวิตามินซีหรือคาโรทีนสูง งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มสุราในปริมาณมาก
 
          หากท่านมีอาการของโรคกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้อง แน่นท้อง หรือท้องอืด อิ่มเร็ว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ นานเกินกว่า 4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมที่ละเอียดต่อไป
 
 
กลับสู่ด้านบน
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th