ความรู้สำหรับประชาชน
  - ดนตรีบำบัด-คณิตศาสตร์ทางอารมณ์
  - การขจัดทุกข์ด้วยตนเอง
  - โรคซึมเศร้า
  - "อยู่อย่างไรกับ...ความเครียด"
  - ความเครียด...บางอย่างที่คุณควรรู้
  - ภาวะทางจิตใจที่ทำให้เกิดโรคทางกายที่พบบ่อย
  - ปัญหาทุกข์ใจผ่อนคลาย ป้องกันได้
  - ปัญหานอนไม่หลับ หลับไม่เพียงพอ
  - การช่วยขจัดทุกข์ผู้อื่น
  - โรคกังวล
  - ทำอย่างไร คนไทยจะอายุยืนมากขึ้น ??
 
เยียวยาจิตใจ
 
 
โรคกังวล
 
     
 
วันที่ 02 เดือนมีนาคม พ.ศ.2552
 
     
 
 
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สมภพ เรืองตระกูล   
 
บทความจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข   
   
     
คำจำกัดความ
  ลักษณะสำคัญของโรค คือ ผู้ป่วยมีความ
วิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ
มากผิดปกติ และมีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย 3 อย่าง ได้แก่ กระวนกระวาย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และนอนไม่หลับ โดยผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวติดต่อกันเป็น เวลาอย่างน้อย 6 เดือน
   
อุบัติการณ์
  พบประมาณร้อยละ 3-5 ของประชากรทั่วไป และพบโรคนี้ประมาณร้อยละ 12 ของผู้ป่วยที่เป็น
ทั้งหมด พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตราส่วน 2:1
 
สาเหตุ
  1. พันธุกรรม
  พันธุกรรมเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของโรคนี้ Kendler และคณะ ได้ศึกษาคู่แฝดหญิงจำนวน
1,033 คู่ พบว่าคู่แฝดที่เป็นโรคกังวลมีปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นสาเหตุร้อยละ 30 ในขณะที่คู่แฝดที่เป็นโรคซึมเศร้ามีปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นสาเหตุร้อยละ 70 และพบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่งทำให้เป็นโรคนี้ และโรคซึมเศร้าเป็นชนิดเดียวกัน
  2. ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้
  พบว่าผู้ป่วยมักให้ความสนใจ เรื่องราวที่เป็นอันตรายและรับเอาเรื่องราวดังกล่าวเข้าไว้ในพฤติกรรม
การเรียนรู้ของตน ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลง่าย มีผู้ตั้งข้อสมมติฐานว่าผู้ป่วยมักขาดการควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะความวิตกกังวล ทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ง่าย
  3. ปัจจัยทางชีวภาพ
  จากผลการศึกษาในปัจจุบันพบว่า สารสื่อประสาท โดยเฉพาะ catecholamine, serotonin
และGABA อาจมีส่วนทำให้เป็นโรคนี้
 
ลักษณะทางคลินิก
  ลักษณะทางคลินิก และมีอาการต่อไปนี้
ร่วมด้วยได้แก่ กระวนกระวาย เหนื่อยง่าย หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และนอนไม่หลับ ผู้ป่วยมักมีความกังวลเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เช่น ความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน สถานภาพทางการเงินของตนและครอบครัว สุขภาพของบุคคลในครอบครัว การเลี้ยงดูบุตร หรือเรื่องเล็กน้อยอย่างอื่น เช่น งาน ประจำภายในบ้าน รถเสีย หรือมีนัดแล้วไปช้ากว่า
กำหนด เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นเด็กและวัยรุ่นจะมีความกังวลเกี่ยวกับสมรรถภาพในการเรียน การกีฬา หรือกิจกรรมอย่างอื่น และอาจมีความกังวลมากเกี่ยวกับการตรงต่อเวลา ผู้ป่วยเด็กอาจมีลักษณะเจ้าระเบียบ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด มักทำงานซ้ำๆ เพื่อให้งานออกมาดี รวมทั้งต้องการให้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น และต้องการกำลังใจอย่างมากด้วย
 
อาการอื่น และโรคที่พบร่วมด้วย
  ผู้ป่วยอาจมีกล้ามเนื้อกระตุก มือสั่น ตัวสั่น และปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการทาง
กาย เช่น ตัวเย็น มือเย็นขึ้น ปากแห้ง เหงื่อออก คลื่นไส้ หรืออาเจียน ปัสสาวะบ่อย กลืนอาหารลำบากหรือรู้สึกมีก้อนติดอยู่ในลำคอ และตื่นเต้นตกใจง่าย อาการซึมเศร้าพบได้บ่อยเช่นกันผู้ป่วยมักเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน เช่น โรคซึมเศร้า หรือ Dysthymic disorder และเป็นโรค Anxiety disorder ชนิดอื่น
เช่น โรคแพนิค โรคกลัว รวมทั้งใช้สารเสพติดโรคทางกายที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่ ปวดศีรษะ Irritable bowel syndrome เป็นต้น
 
การวินิจฉัยโรค
  หลักการวินิจฉัยโรคมีดังนี้
  1. ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากผิดปกติ ติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างน้อย 6 เดือน
  2. มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 3 อย่าง (ถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กมีอาการอย่างเดียว)
 
  2.1 กระวนกระวาย
2.2 เหนื่อยง่าย
2.3 ขาดสมาธิ
2.4 หงุดหงิดง่าย
2.5 ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
2.6 นอนไม่หลับ
 
การดำเนินโรค
  ู้ป่วยจำนวนมากมักมีความวิตกกังวลอยู่เป็นประจำ และประมาณครึ่งหนึ่งมีอาการตั้งแต่เด็ก หรือ
วัยรุ่น การดำเนินโรคมักเป็นเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ และอาการจะกำเริบเวลามีเรื่องไม่สบายใจ
 
การรักษา
  ก.จิตบำบัด
  1. อธิบายสาเหตุของโรคให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า ผู้ป่วย มีอาการ
เนื่องจากอารมณ์เครียด และวิตกกังวล ซึ่งต้องหา สาเหตุว่าเกิดอะไร
  2. ให้ความมั่นใจว่ามีทางรักษาให้หายได้ และไม่มีอันตราย
แต่อย่างใด
  3. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความไม่สบายใจ และความ
ทุกข์ใจ รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ พร้อมทั้งให้กำลังใจ ปลอบใจและแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
เหมาะสม
  4. แก้ไขภาวะแวดล้อมที่เป็นสาเหตุ โดยอาศัยความร่วมมือจากญาติผู้ป่วยด้วย
  5. ทำจิตบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่มีความขัดแย้งใจ และให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวดีขึ้น เพื่อต่อไป
ภายหน้าเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจจะได้ควบคุมความวิตกกังวลได้อย่างเหมาะสม
  ข. พฤติกรรมบำบัด ใช้วิธี progressive muscle relaxation
  ค. การรักษาด้วยยา ยาคลายกังวลในกลุ่ม Benzodiazepines ใช้รักษาโรคนี้ได้ดีที่สุด
   
ที่มา : จาก คู่มือจิตเวชศาสตร์ สำหรับประชาชน หน้า 15-17
 
กลับสู่ด้านบน
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th