ความรู้สำหรับประชาชน
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ควรรู้
  - ไวรัสตับอักเสบบีและซีกับมะเร็งตับ
  - มะเร็งปากมดลูกและวัคซีน
  - มะเร็งศีรษะและลำคอ
  - มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  - มะเร็งผิวหนัง
  - มะเร็งรังไข่
  - มะเร็งโพรงหลังจมูก
  - มะเร็งช่องปาก
  - มะเร็งต่อมไทรอยด์
  - มะเร็งกล่องเสียง
  - เนื้องอกสมอง
  - มะเร็งกระเพาะอาหาร
  - มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
  - มะเร็งหลอดอาหาร
  - มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  - มะเร็งต่อมลูกหมาก
  - มะเร็งตับ
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  - มะเร็งเต้านม
  - มะเร็งปอด
  - มะเร็งปากมดลูก
 
ความรู้โรคมะเร็ง
 
 
เนื้องอกสมอง
 
     
 
วันที่ 19 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
         เนื้องอกสมอง  พบได้ในทุกกลุ่มอายุ สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร อาการผิดปกติที่อาจจะบอกว่าผู้ป่วยมีเนื้องอกในสมองแสดงออกได้หลายอย่างด้วยกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก ขนาดและชนิดของเนื้องอก เมื่อมีเนื้องอกเกิดขึ้นในกะโหลกศีรษะ จะทำให้มีอาการดังนี้
 
 
          1. ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง โดยจะมีอาการแสดง เช่น
              ปวดศีรษะในระยะแรก มักปวดเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอสาย ๆ อาการจะดีขึ้น ระยะต่อมาอาการปวดจะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนปวดตลอดเวลา ยาแก้ปวดก็ไม่สามารถลดอาการปวดได้ ตำแหน่งที่ปวด ส่วนมากจะปวดที่บริเวณท้ายทอย หน้าผาก หรือทั้งศีรษะ
              อาการอาเจียนพุ่งในระยะแรกจะอาเจียนตอนเช้า แต่ไม่สัมพันธ์กับอาหาร ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการคลื่นไส้มาก่อนมักพบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก

            2. ตำแหน่งของเนื้องอกจะทำให้อาการที่แสดงออกแตกต่างกัน เช่น ความผิดปกติของการทรงตัว ทรงตัวไม่ค่อยได้ แขนขาอ่อนแรง การมองเห็น การพูด พฤติกรรมการรับรู้ ระดับความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป หรืออาจมี
              ตามัว การเคลื่อนไหวลูกตาผิดปกติ อาจจะมีตาเหล่ไปข้าง ๆ และม่านตาขยายใหญ่
              อาการชัก หรือก้อนที่ศีรษะ เป็นต้น
     
         อาการผิดปกติต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ได้แสดงว่าจะเป็นเนื้องอกสมองเสมอไป แต่ควรไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุ ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และอื่น ๆ และเมื่อตรวจพบและทราบตำแหน่งที่แน่นอนแล้ว แพทย์จะได้ให้การรักษาต่อไป
          การรักษามักจะทำโดยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด หรือจะให้การรักษาร่วมกันหลายวิธีก็ได้
     
 
 
กลับสู่ด้านบน
 
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th