ความรู้สำหรับประชาชน
  - ดนตรีบำบัด-คณิตศาสตร์ทางอารมณ์
  - การขจัดทุกข์ด้วยตนเอง
  - โรคซึมเศร้า
  - "อยู่อย่างไรกับ...ความเครียด"
  - ความเครียด...บางอย่างที่คุณควรรู้
  - ภาวะทางจิตใจที่ทำให้เกิดโรคทางกายที่พบบ่อย
  - ปัญหาทุกข์ใจผ่อนคลาย ป้องกันได้
  - ปัญหานอนไม่หลับ หลับไม่เพียงพอ
  - การช่วยขจัดทุกข์ผู้อื่น
  - โรคกังวล
  - ทำอย่างไร คนไทยจะอายุยืนมากขึ้น ??
 
เยียวยาจิตใจ
 
 
ปัญหานอนไม่หลับ หลับไม่เพียงพอ
 
     
 
วันที่ 02 เดือนมีนาคม พ.ศ.2552
 
     
 
 
โดย นายแพทย์สุรชัย เกื้อกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์   
 
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   
   
   
  “ อาการนอนไม่หลับ ” หรือ “ การนอนหลับไม่เพียง
พอ (insomnia)”
  เป็นเพียงอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ไม่ใช่ตัวโรค
แพทย์จึง ต้องสืบค้นหาสาเหตุต่อไป เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยอาจ บรรยายปัญหาการนอนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือมีผสมกันหลายๆ แบบ ที่พบได้คือ การนอนไม่หลับหรือหลับลำบาก การนอนหลับไม่สนิท ตื่นขึ้นกลางดึก หรือหลับๆ ตื่นๆ การตื่นนอนเข้าหรือเร็วกกว่าปกติ และ ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น
  ปัญหาการนอนไม่หลับ ไม่เพียงพอพบได้ประมาณร้อยละ 30-40 ของประชากร แต่ที่เป็นปัญหาเรื้อรัง
มีประมาณร้อยละ 10 บุคคลที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการนอนไม่หลับคือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคทางกายเรื้อรังหรือใช้ยา ประจำ และผู้ป่วยโรคจิตเวช.
 
ชนิดของการนอนหลับไม่เพียงพอ และสาเหตุ
  1. ปัญหาการนอนที่เกิดขึ้นเร็ว เป็นอยู่ช่วงเวลาสั้นๆ และมักไม่เรื้อรัง (acute หรือ short-term
หรือ transient insomnia) มักมีสาเหตุมาจากปัญหาทางด้านอารมณ์ ปัญหาตึงเครียดในชีวิต อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย การเปลี่ยนแปลงในความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อม เช่น เสียงดัง อุณหภูมิร้อนเกินไป การเปลี่ยนที่นอน และการเดิน ทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก (time zone) ทำให้เกิด jet lag ถ้าร่างกายสามารถปรับตัวกับสภาพที่เกิดขึ้นหรือมีการแก้ไข ปัญหาให้ลุล่วง การนอนไม่หลับก็จะหายไปได้
  2. ปัญหาการนอนไม่หลับเรื้อรัง (chronic insomnia) โดยเกิดขึ้นนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาจมา
จากสาเหตุเดียว หรือหลายสาเหตุร่วมกัน ดังเช่น
  2.1 โรคทางจิตเวช ผู้ป่วยที่มีภาวะอารมณ์ตกต่ำลงหรือซึมเศร้า (depression) และวิตกกังวล
(anxiety) ส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกายและนอนไม่หลับ
  2.2 โรคทางอายุรกรรม เช่น โรคสมองเสื่อม ภาวะทางฮอร์โมน การตั้งครรภ์ วัยทอง โรคหอบหืด
gastrointestinal reflux และอาการปวด การไอเรื้อรัง การหายใจลำบาก การต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อย ๆ อาจรบกวนการนอนของผู้ป่วยได้
  2.3 ยา เช่น กาเฟอีน สตีรอยด์ decongestants ยากั้นเบตา และยาลดน้ำหนักต่าง ๆ รวมทั้ง
แอมเฟตามีน
  2.4 โรคของการนอนหลับโดยตรง (primary sleep disorder) ได้แก่
       - Restless leg syndrome ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกไม่สบายเกิดขึ้นในกล้ามเนื้อของขาหรือเท้า
และจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้เคลื่อนไหวเท้า บางครั้งอาจรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งคืบคลานในกล้ามเนื้อ อาจเป็นมากในช่วงเย็นหรือเมื่อผู้ป่วยเข้านอน
       - Periodic limb movement disorder (PLMD) ผู้ป่วยจะมีอาการสะบัดหรือกระตุกเป็นพัก ๆ
ของขาทั้ง 2 ข้าง อาจพบที่แขนบ้าง ทำให้การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง มักเกิดขึ้นทุก ๆ 20 ถึง 90 นาที ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกตัวตื่นเพราะ เกิดช่วงสั้นมาก แต่ผู้ที่นอนใกล้ชิดผู้ป่วยจะสามารถรายงานลักษณะอาการได้ดี มักพบในผู้สูงอายุ และผู้ป่วยไตวาย
       - Obstructive sleep apnea เป็นการขาดลมหายใจระหว่างการนอนหลับเป็นพักๆ มักพบใน
บุคคลที่ นอนกรนเสียงดังสลับกับหายใจลำบาก อ้วน คอสั้นหนา และมักมีอาการง่วงนอนมากในช่วงกลางวัน การขาดลม หายใจทำให้ขาดออกซิเจน และเกิดการตื่นเป็นระยะ ๆ
       - Circadian rhythm disorder เช่น delayed sleep phase syndrome ผู้ป่วยมีเวลาของการ
นอนเกิดขึ้นช้า และตื่นนอนสายกว่าคนทั่วไป
       - Primary insomnia หรือ Psychophy siological
insomnia เป็นปัญหาการนอนที่พบได้บ่อยผู้ป่วยมักมีเหตุปัจจัย กระตุ้นบางอย่างเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ มาก่อน เช่น jet lag หรือ ความไม่สบายใจบางอย่าง แต่ถึงแม้ว่าเหตุนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ผู้ป่วยก็ยังคงมีปัญหาการนอนหลับอยู่ต่อไป ผู้ป่วยจะมีความ กังวลหรือครุ่นคิดตลอดเวลาว่าคืนนี้จะนอนหลับได้หรือไม่ ยิ่ง เวลานอนใกล้เข้ามาก็จะยิ่งกลัวและหวาดวิตกเกี่ยวกับการนอน
มากขึ้น เมื่อเข้านอนก็มีความพยายามอย่างมากที่จะนอนหลับ ให้ได้ ทำให้มีภาวะ hyperarousal ซึ่งจะหวนไปทำให้ความสามารถที่จะนอนหลับลดลง ผู้ป่วยจะไม่สามารถ นอนหลับได้ และจะพยายามนอนบนเตียงหรือที่นอนต่อไปถึงแม้ว่าจะไม่หลับและเกิดความทรมาน แต่ก็ไม่ กล้าลุกออกจากที่นอนเพราะกลัวว่าจะทำให้ไม่ง่วง
 
ผลของการนอนหลับไม่เพียงพอ
  ผลสืบเนื่องที่เห็นชัดเจนคือ ความง่วง อารมณ์ไม่สดชื่น และความสามารถในการปฏิบัติงานลดต่ำลง
ซึ่งความรุนแรงของผลสืบเนื่องสัมพันธ์กับปริมาณการนอนที่ลดลงและจำนวนคืนที่นอนได้ไม่เพียงพอ ผู้ป่วย ที่มีปัญหามานานมักมีอาการอ่อนเพลีย อารมณ์ไม่ร่าเริง หงุดหงิด และขาดสมาธิ ผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอน หลับไม่เพียงพอ พบว่ามีอัตราของการขาดงาน การใช้บริการทางการแพทย์สูงขึ้น และความสามารถทางสังคม ลดลง
 
วิธีการรักษา
  1. การแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติเพื่อการนอนหลับ (sleep hygiene) เช่น
  - ตื่นนอน และเข้านอนให้เป็นเวลา
 
   - ไม่ทำกิจกรรมอื่นใดบนเตียงนอน ยกเว้นเรื่องนอน และกิจกรรมทางเพศ
  - ใช้เวลาบนเตียงนอนให้น้อยที่สุดในแต่ละคืน
  - ในกรณีที่เข้านอนแล้ว 10-15 นาที ยังไม่สามารถนอนหลับได้ไม่ควรพยายามนอนต่อไป ควรลุก
ไปจากเตียงหรือไปห้องอื่นเพื่ออ่านหนังสือเบาๆหรือทำกิจกรรมอื่นๆ เมื่อรู้สึกง่วงจึงกลับเข้านอนใหม่
  - ไม่ควรมีนาฬิกาบอกเวลาในห้องนอน
  - ไม่ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกาย หรือหนักสมองก่อนเข้านอน
  - มีกิจกรรมผ่อนคลายก่อนการเข้านอน เช่น อาบน้ำอุ่น ดื่มนมหรือน้ำผลไม้ อ่านหนังสือเบา ๆ
10 นาทีก่อนเข้านอน
  - งดกาแฟ ชา ก่อนเวลาเข้านอน 6 ชั่วโมง และงดสุรา บุหรี่เมื่อเวลาเข้านอน
  - พยายามไม่งีบหลับในช่วงกลางวันมากเกินไป เพราะจะทำให้ไม่ง่วงและคุณภาพการนอนไม่ดี
ในคืนนั้น
  - การออกกำลังกายหนักๆ ควรทำในช่วงเย็นอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์
  - ออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินยืดเส้นยืดสายก่อนเวลานอน 2-3 ชั่วโมง
   
  หลักการเหล่านี้ช่วยขจัดสาเหตุภายนอกต่างๆ ที่อาจรบกวนการนอน ช่วยลดความหวาดวิตกเกี่ยวกับ
การนอนของผู้ป่วยและส่งเสริมให้วงจรการนอนหลับ-ตื่น ให้เป็นเวลาสม่ำเสมอมากขึ้น
   
  2. การใช้ยาช่วยการนอนหลับ ต้องร่วมกับการแนะนำสุขบัญญัติของการนอนหลับที่ดีด้วยเสมอ
เพราะในระยะยาวผู้ป่วยจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมการนอนหลับได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพิงยาอย่างเดียว จุดประสงค์ของการใช้ยาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้เร็วขึ้น ลดการตื่นกลางดึก หรือเพื่อช่วยลดความวิตกกังวลในวันรุ่งขึ้นควรใช้ยาในกรณีที่มีอาการรุนแรง และให้ยาในระยะสั้นที่สุด เมื่อผู้ป่วยปรับตัวได้แล้วอาจไม่ต้องให้ยาต่อเนื่อง ไม่ควรให้ยานานเกิน 2-3 สัปดาห์
 
  ู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถหยุดยาได้ แต่ก็ไม่มีการดื้อยาหรือเพิ่มขนาดยาเอง แพทย์อาจแนะนำให้
ผู้ป่วยทดลองกินยาคืนเว้นคืน หรือกินทุก ๆ 2 คืน (intermittentuse)
 
กลับสู่ด้านบน
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th