 |
|
พระโพธิญาณเถร
(หลวงปู่ชา สุภัทโท) |
|
|
 |
|

|
|
การทำจิตให้สงบ
คือการวางให้พอดี ตั้งใจเกินไปมาก มันก็ |
เลยไปปล่อยเกินไปมันก็ไม่ถึงเพราะขาดความพอดี
ธรรมชาติจิตเป็นของไม่อยู่นิ่ง เป็นของมีกิริยาไหวตัวอยู่เรื่อย
ฉะนั้นจิตใจของเราจึงไม่มีกำลังการทำจิตใจของ เราให้มีกำลังกับการทำกายของเราให้มีกำลังมันต่างกัน
การทำกายให้มีกำลังก็คือ การออกกำลัง ทำกาย |
บริหารมีการกระโดด
การวิ่ง นี่คือการทำกายให้มีกำลังการ ทำจิตใจให้มีกำลังก็คือ
ทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ทำจิตให้คิดนั่นคิดนี่ไปต่างๆ
ให้อยู่ในขอบเขตของมันเพราะว่าจิตของเรานั้นไม่เคยได้สงบ
ไม่เคยมีกำลังมันจึงไม่มีกำลังทางด้านสมาธิภายใน |
|
|
|
บัดนี้เราจะทำสมาธิก็ตั้งใจ
ให้เอาความรู้สึก กำหนดอยู่กับลมหายใจ ถ้าหากว่าเราหายใจสั้นเกิน |
ไปหรือยาวเกินไปก็ไม่พอดี
ไม่ได้สัดได้ส่วนกัน ไม่เกิดความสงบ เหมือนกันกับเราเย็บจักรผู้เย็บจักรมีมือมีเท้า
เราต้องถีบจักรเปล่าดูก่อนให้รู้จัก ให้คล่องกับเท้าของเราเสียก่อนจึงเอาผ้ามาเย็บ
การกำหนดลมหายใจก็เหมือนกัน หายใจเฉยๆกำหนดรู้ ไว้ จะพอดีขนาดไหน
ยาวขนาดไหน สั้นขนาดไหน จะให้ค่อยขนาดไหนแรงขนาดไหน จะยาวก็ไม่เอากับมัน
จะสั้นก็ ไม่เอากับมัน จะค่อยก็ไม่เอากับมัน เอาตามความพอดี
เอายาวพอดี เอาสั้นพอดี เอาค่อยพอดี เอาแรงพอดี นั่นชื่อว่า
ความพอดี เราไม่ได้ขัดไม่ได้ข้อง แล้วก็ปล่อยหายใจดูก่อน
ไม่ต้องทำอะไร |
|
|
|
ถ้าหากว่าจิตสงบแล้ว
จิตพอดีแล้ว ก็ยกลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ หายใจเข้า ต้นลมอยู่ปลาย |
จมูก
กลางลมอยู่หทัยคือหัวใจ ปลายลมอยู่สะดือ อันนี้เป็นแหล่งการเดินลม
เมื่อหายใจออกต้นลมจะอยู่สะดือ กลางลมจะอยู่หทัย ปลายลมจะอยู่จมูก
นี่มันสลับกันอย่างนี้กำหนดรู้เมื่อลมผ่านจมูก ผ่านหทัย
ผ่านสะดือพอสุดแล้วก็จะเวียนกลับมาอีก เป็นสามจุดนี้ให้ความรู้ของเราอยู่ในความเวียนเข้าออกทั้งสามจุดนี้พยายามติดตามลมหายใจเช่นนี้เรื่อยไป
เพื่อรักษาความรู้นั้นและทำสติสัมปชัญญะของเราให้กล้าขึ้นหากว่าเรากำหนดจิตของเราให้รู้จักต้นลม
กลางลม ปลายลม ดีแล้วพอสมควร เราก็วางเราจะหายใจเข้าออกเฉยๆ
เอาความรู้สึกของเราไว้ปลายจมูก หรือริมฝีปากบนที่ลมผ่านออก
เข้าเอาแต่ความรู้สึกเท่านั้น ไม่ต้องตามลมออกไป ไม่ต้องตามลมเข้ามา
เอาความรู้สึกหรือผู้รู้นั่นแหละไว้เฉพาะหน้า เราที่ปลายจมูกให้รู้จักลมผ่านออกผ่านเข้า
ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย เพียงแต่ให้มีความรู้สึกเท่านั้นแหละ
ให้มีความรู้สึก ติดต่อกัน ลมออกก็ให้รู้ ลมเข้าก็ให้รู้
ให้รู้อยู่แต่ที่นั้นแหละรู้แล้วมันจะเป็นอะไรก็ไม่ต้องคิด
เอาเพียงเท่านั้นเสียก่อนใน เวลานี้หน้าที่การงานของเรามีแค่นั้นไม่ได้มีมาก
กำหนดลมเข้าออกอยู่อย่างนั้นแหละ ต่อไปจิตก็สงบ ลมก็จะละเอียดเข้าไปน้อมเข้าไปกายก็จะเบาเข้าไป
จิตก็จะสงบไป ความเบากายเบาใจนั้นก็จะเกิดขึ้นมา จะเป็นกายควรแก่การงาน
และจะเป็นจิตควรแก่การงานต่อไป นี่คือการทำสมาธิ ไม่ต้องทำอะไรมาก
ให้กำหนดเท่านั้นต่อไปนี้ให้ตั้งใจทำ กำหนดไป.... |
|
|
|
จิตเราละเอียดเข้าไป
การทำสมาธินั้น จะไปไหนก็ช่างมันให้เรารู้ทันเอาไว้ให้เรารู้จักมัน
มันมีทั้ง |
อารมณ์
มีทั้งความสงบคลุกคลีกันไป มันมีวิตก วิตกคือการจะยกจิตของตนนึกถึงอันหนึ่งขึ้นมาถ้าสติของเราน้อยก็จะวิตกน้อย
แล้วมีการวิจารคือการตรวจดูตามเรื่องที่เราวิตกนั้นแต่ข้อสำคัญนั้นต้องพยายามรู้ให้ทันอยู่เสมอแล้วก็พิจารณาให้ลึกลงไปอีก
ให้เห็นว่ามีทั้งสมาธิและมีทั้งความรู้รวมรู้ในนั้นคำว่า
จิตสงบ นั้นไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรมันต้องมี มีความสงบ ครอบอยู่
ท่านกล่าวถึงองค์ของความสงบขั้นแรกว่า หนึ่งมีวิตกยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา
แล้วก็สองมีวิจาร คือพิจารณาตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นมา สามจะมีปิติ
คือความยินดีในสิ่งที่เราวิตกไปนั้นในสิ่งที่เราวิจารไปนั้นจะเกิดปิติ
คือความยินดีซาบซึ้งอยู่โดยเฉพาะของมันแล้วก็จะมีสี่ สุข
สุขอยู่ไหน สุขอยู่ในการวิตกสุขอยู่ในการวิจาร สุขอยู่กับความอิ่มใจ
สุขอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นแหละ แต่ว่ามันสุขอยู่ในความสงบวิตกก็วิตกอยู่ในความสงบ
วิจารก็วิจารอยู่ในความสงบ ความอิ่มใจก็อยู่ในความสงบสุขก็อยู่ในความสงบ
ทั้งสี่อย่างนี้เป็น อารมณ์อันเดียว ห้าคือ เอกัคคตาห้า
อย่างแต่เป็นอันเดียวกัน คือทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์
แต่มีลักษณะอยู่ในขอบเขตอันเดียวกัน คือเมื่อจิตสงบ วิตกก็มี
วิจารก็มีปิติก็มี สุขก็มีเอกัคคตาก็มี ทั้งหมดนี้เป็นอารมณ์เดียวกันคำที่ว่าอารมณ์เดียวกันนั้น
ทำไมจึงมีหลายอย่าง หมายความว่า มันจะมีหลายอาการก็ช่างมันเพราะอาการทั้งหลายเหล่านั้นจะมารวมอยู่ในความสงบอันเดียวกัน
ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญเหมือนกับว่ามีคน ๔ คนนั้นมีอาการอันเดียวกัน
คือจะมีอารมณ์ทั้ง ๔ อารมณ์ |
|
|
|
เมื่ออารมณ์อันนี้อยู่ในลักษณะนี้ท่านเรียกว่า
องค์ องค์ของความสงบ ท่านไม่ได้เรียกว่าอารมณ์ |
ท่านเรียกว่า
วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่เป็นอารมณ์ตามธรรมดา
ท่านจึงจัดว่าเป็นองค์ของความ สงบมีอาการอยู่ ๔ อย่าง
คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ไม่มีความรำคาญ วิตก
อยู่ก็ไม่รำคาญ วิจารอยู่ก็ไม่ รำคาญ มีปิติก็ไม่รำคาญมีความสุขก็ไม่รำคาญ
จิตจึงเป็นอารมณ์เดียวอยู่ในสิ่งทั้ง ๔ นี้จับรวมกันอยู่เรื่องจิตสงบ
ขั้นแรกจึงเป็นอย่างนี้ที่นี้ บางอย่างอาจถอยออกมา ถ้ากำลังใจไม่กล้า
สติหย่อนไปแล้วมันจะมีอารมณ์มาแทรกเข้า ไปเป็นบางครั้งคล้ายๆ
กับว่าเคลิ้มไปแล้วก็มีอาการอะไรบางอย่างเข้ามาแทรกตอนที่มันเคลิ้มไปแต่ไม่ใช่ความง่วง
ตามธรรมดา ท่านว่ามีความเคลิ้มในความสงบ บางทีก็มีอะไรบางอย่างเข้ามาแทรกเข้ามา
เช่นว่าบางทีมีเสียงปรากฎบ้าง บางทีเหมือนเห็นสุนัขวิ่งผ่านไปข้างหน้าบ้าง
แต่ว่าไม่ชัดเจนและก็ไม่ใช่ฝันอันนี้จัดเป็นฝันไม่ได้
ที่เป็น เช่นนี้เพราะกำลังทั้ง ๔ ดังกล่าวแล้วไม่สม่ำเสมอกัน
มันอ่อนลง อ่อนเคลิ้มลง จึงเกิดอารมณ์เข้าแทรก อันนี้เป็นอาการของจิต
ถ้าหากว่าเรามีความสงบมันก็มีสิ่งทั้ง ๔ สิ่งนี้เป็นบริวารอยู่
แต่เป็นบริวารในความสงบ อันนี้เป็น เบื้องแรกของมันขณะที่จิตเราสงบอยู่ในขั้นนี้
ชอบมีนิมิตทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางจิตมัน
ชอบเป็น แค่ผู้ทำสมาธิจับไม่ค่อยถูกว่า มันหลับไหม ก็ไม่ใช่
มันฝันไปหรือ ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่อะไรทั้งนั้น มันเป็นอาการ
เกิดมาจากความสงบครึ่งๆ กลางๆ ก็ได้บางทีก็แจ่มใสเป็นธรรมดาบางทีก็คลุกคลีไปกับความสงบบ้างกับอารมณ์
ทั้งหลายบ้างแต่อยู่ในขอบเขตของมันอย่างไรก็ตาม บางคนทำสมาธิยาก
เพราะอะไร เพราะจริตแปลกเข้า แต่ก็เป็นสมาธิ แต่ก็ไม่หนักแน่นไม่ได้รับความสบายเพราะสมาธิแต่จะได้รับความสบายเพราะปัญญา
เพราะปัญญา ความคิด เห็นความจริงของมัน แล้วก็แก้ปัญหาถูกต้อง
เป็นประเภทปัญญาวิมุตติไม่ใช่เจโตวิมุตติ มันจะมีความ
สบายทุกอย่างที่จะได้เกิดขึ้น เป็นหนทางของเราเพราะปัญญา
สมาธิมันน้อย คล้ายๆกับว่าไม่ต้องนั่งสมาธิ พิจารณา อันนั้นเป็นอะไรหนอ
แล้วแก้ปัญหาอันนี้ได้ทันทีเลยสบายไปเลยสงบ ลักษณะผู้มีปัญญาต้องเป็นอย่างนั้น
ทำสมาธิไม่ค่อยได้สงบและไม่ค่อยดีด้วย มีสมาธิแต่เพียงเฉพาะเลี้ยงปัญญาให้เกิดดีขึ้นมาได้
โดยมาอาศัยปัญญา เช่น สมมุติว่า ทำนากับทำสวนเราอาศัยนามากว่าสวน
หรือทำนากับทำไร่ เราจะอาศัยนามากกว่าไร่ |
|
|
|
ในเรื่องของเราอาชีพของเราและการภาวนาของเราก็เหมือนกัน
มันจะได้อาศัยปัญญาแก้ปัญหา |
แล้วจะเห็นความจริง ความสงบจึงเกิดขึ้นมา มันเป็นไปอย่างนั้น
ธรรมดาก็เป็นไปอย่างนั้น มันต่างกันบางคนแรงในทางปัญญา
สมาธิพอเป็นฐานไม่มาก คล้ายๆกันว่านั่งสมาธิไม่ค่อยสงบ
ชอบมีความปรุงแต่งมีความคิดและมีปัญญา ซักเรื่องนั้นมาพิจารณา
ซักเรื่องนี้มาพิจารณา แล้วพิจารณาลงสู่ความสงบก็เห็นความถูกต้อง
อันนี้จะได้มีกำลังกว่าสมาธิ อันนี้จริตของบางคนเป็นอย่างนั้น
แม้จะยืน เดิน นั่ง นอนก็ตาม ความตรัสรู้ธรรมะนั้นไม่แน่นอน
จะเป็นอิริยาบถใดก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้นั่งก็ได้ นอนก็ได้
อันนี้แหละผู้แรงด้วยปัญญา เป็นผู้มีปัญญาสามารถที่จะไม่เกี่ยวข้องกับสมาธิมากก็ได้
ถ้าพูดกันง่ายๆ ปัญญาเห็นเลย เห็นไปเลยก็ละไปเลย สงบไปเลยได้ความสบาย
เพราะอันนั้นมันเห็นชัดมันเห็นจริง เชื่อมั่นยืนยันเป็นพยานตนเองได้
นี่จริตของบางคนเป็นไปอย่างนี้ แต่จะอย่างไรก็ช่าง มันก็ต้องทำลายความเห็นผิดออกเหลือแต่ความเห็นถูกทำลายความฟุ้งซ่านออก
เหลือแต่ความสงบมันก็จะลงไปสู่จุดอันเดียวกัน บางคนปัญญาน้อยนั่งสมาธิได้ง่าย
สงบ สงบเร็วที่สุด ไว แต่ไม่ค่อยมีปัญญา ไม่ทันกิเลสทั้งหลายไม่รู้เรื่องกิเลสทั้งหลายแก้ปัญหาไม่ค่อยได้
|
|
|
|
พระโยคาวจรเจ้าผู้ปฏิบัติมีสองหน้าอย่างนี้
ก็คู่กันเรื่อยไป แต่ปัญญาหรือวิปัสสนากับสมถะมันก็ทิ้ง |
กันไม่ได้
คาบเกี่ยวกันไปเรื่อยๆอย่างนี้ทีนี้ ถ้ามันชัดแจ้งในความสงบ
เมื่อมีอารมณ์มาผ่าน มีนิมิตขึ้นมาผ่าน ก็ไม่ได้สงสัยว่า
เคลิ้มไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้ หลงไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้
ลืมไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้ หลับไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้
จิตขณะนี้สงสัย หลับก็ไม่ใช่ ตื่นก็ไม่ใช่ นี่มันคลุมเครือ
เรียกว่ามันมั่วสุมอยู่กับอารมณ์ ไม่แจ่มใส เหมือนกันกับพระจันทร์เข้าก้อนเมฆ
มองเห็นอยู่แล้วแต่ไม่แจ่มแจ้ง มัวๆ ไม่เหมือนกับพระจันทร์ออกจากก้อนเมฆ
นั่นแจ่มใสสะอาด จิตเราสงบ มีสติสัมปชัญญะรอบคอบสมบูรณ์แล้ว
จึงไม่สงสัยในอาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นจะหมดจากนิวรณ์จริงๆ
รู้ว่าอันใดเกิดขึ้นมาเป็นอันใดหมดทุกอย่าง รู้แจ้ง รู้เรื่องตามเป็นจริง
ไม่ได้สงสัย อันนี้เป็นดวงจิตที่ใสสะอาด สมาธิถึงขีดสุดแล้วเป็นเช่นนั้น
|
|
|
|
ระยะหลังๆมาก็เป็นไปในรูปอย่างนี้ทำนองนี้
เป็นเรื่องธรรมดาของมัน ถ้าจิตแจ่มแจ้งผ่องใสแล้ว |
ไม่ต้องไปถามว่าง่วงหรือไม่ง่วง
ใช่หรือไม่ใช่ ทั้งหลายเหล่านี้มันก็ไม่มีอะไร ถ้ามันชัดเจนก็เหมือนเรานั่งธรรมดาอย่างนี้เอง
นั่งเห็นธรรมดาหลับตาก็เหมือนลืมตามาเห็นทุกอย่างสารพัดไม่มีความสงสัย
เพียงแต่เกิดอัศจรรย์ขึ้นในดวงจิตของเราว่า เอ๊ะ ! สิ่งเหล่านี้มันก็เป็นของมันไปได้
มันไม่น่าจะเป็นไปได้ มันก็เป็นของมันได้ อันนี้จะวิพากษ์วิจารณ์มันเองไปเรื่อยๆ
ทั้งมีปิติ ทั้งมีความสุขใจ มีความอิ่มใจ มีความสงบเป็นเช่นนั้น
ต่อนั้นไปจิตมันจะละเอียด ไปยิ่งกว่านั้น มันก็จะทิ้งอารมณ์ของมันไปด้วย
วิตกยกเรื่องขึ้นมาก็จะไม่มี และเรื่องวิจารมันก็จะหมดจะเหลือแต่ความอิ่มใจ
อิ่มไม่รู้ว่าอิ่มอะไร แต่มันอิ่มเกิดความสุขกับอารมณ์เดียวนี้มันทิ้งไป
วิตกวิจารมันมันทิ้งไปทิ้งไปไหนไม่ใช่เรื่องทิ้ง จิตเราหดตัวเข้ามา
คือมันสงบ เรื่องวิตกวิจารมันเป็นของหยาบไปแล้วมันเข้ามาอยู่ในที่นี้ไม่ได้ก็เรียกว่าทิ้งวิตก
ทิ้งวิจารทีนี้จะไม่มีความวิตก ความยกขึ้น วิจาร ความพิจารณาไม่มี
มีแต่ความอิ่ม มีความสุขและมีอารมณ์เดียว เสวยอยู่อย่างนั้นที่เขาเรียกว่า
ปฐมญาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตตุถฌาน เราไม่ได้ว่าอย่างนั้น
เราพูดถึงแต่ความสงบ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ต่อไปนี้ก็ทิ้งวิตกและวิจารเกิดขึ้นมาแล้วก็ทิ้งไป
เหลือแต่ปิติกับสุข เอกัคคตา ต่อไปก็ทิ้งปิติ เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา
ต่อไปก็มีเอกัคคตากับอุเบกขา มันไม่มีอะไรแล้ว มันทิ้งไป
เรียกว่าจิตมันสงบๆๆๆ จนไปถึงอารมณ์มันน้อยที่สุด ยังเหลืออยู่แต่โน้น....ถึงปลายมันเหลือแต่เอกัคคตากับอุเบกขา
เฉยอย่างนี้ อันนี้มันสงบแล้วมันจึงเป็น นี่เรียกว่ากำลังของจิต
อาการของจิตที่ ได้รับความสงบแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้มันไม่ง่วง
ความง่วงเหงาหาวนอนมันเข้าไม่ได้ นิวรณ์ทั้งห้ามันหนีหมด
วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเล อิจฉา พยาบาท ฟุ้งซ่าน รำคาน
หนีเล่านี้ไม่มีแล้ว นี้มันค่อยเคลื่อนไปเป็นระยะอย่างนั้น
|
|
|
|
นี่อาศัยการกระทำให้มาก
เจริญให้มากสิ่งที่รักษาสมาธินี้ไว้ได้ คือ สติ สตินี้เป็นธรรม
เป็น |
สภาวธรรมอันหนึ่ง
ซึ่งให้ธรรมอันอื่นๆ ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพียง สตินี้ก็คือชีวิต
ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เหมือนตาย ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เป็นคนประมาทในระหว่างขาดสตินั้น
พูดไม่มีความหมาย การกระทำไม่มีความหมาย ธรรมคือสตินี้คือความระลึกได้ในลักษณะใดก็ตาม
สติเป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นมาได้ เป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้ไม่สมบูรณ์
อันนี้คือการควบคุม การยืน การเดิน การนั่ง การนอนไม่ใช่แต่เพียงขณะนั่งสมาธิเท่านั้น
แม้เมื่อเราออกจาสมาธิไปแล้วสติก็ยังเป็นสิ่งประจำใจอยู่เสมอ
มีความรู้อยู่เสมอ เป็นของที่มีอยู่เสมอ ทำอะไรก็ระมัดระวัง
เมื่อระมัดระวังทางจิตใจ ความอายมันก็เกิดขึ้นมา การพูด
การกระทำอันใดที่ไม่ถูกต้อง เราก็อายขึ้น อายขึ้นเมื่อความอายกำลังกล้าขึ้นมา
ความสังวรมีมากขึ้นด้วยเมื่อความสังวรมากขึ้น ความประมาทก็ไม่มีนี่
ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้นั่งสมาธิอยู่ตรงนั้น เราจะไปไหนก็ตามอันนี้มันอยู่ในจิตของตัวเองมันไม่ได้หนีไปไหน
ที่ท่านว่าเจริญสติทำให้มาก เจริญให้มากอันนี้เป็นธรรมะคุ้มครองรักษากิจการที่เราทำอยู่หรือทำมาแล้ว
หรือกำลังจะกระทำอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นธรรมะที่มีคุณประโยชน์มาก
ให้เรารู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ ความเห็นผิดชอบมันก็มี อยู่ทุกเมื่อ
เมื่อความเห็นผิดชอบมีอยู่ เกิดขึ้นอยู่ทุก เมื่อความละอายก็เกิดขึ้น
จะไม่ทำสิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
เมื่อรวบยอดเข้ามามันจะมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา คือการสังวร
สำรวมที่มีอยู่ในกิจการของตนนั้น ก็เรียกว่าศีล ศีลสังวร
ความตั้งใจมั่นอยู่ในความสังวรสำรวมในข้อวัตรของเรานั้น
ก็เรียกว่ามันมีอยู่ในความสังวรสำรวมในข้อวัตรของเรานั้น
ก็เรียกว่า ปัญญาพูดง่ายๆก็คือ จะมีศีล จะมีสมาธิจะมีปัญญาก็ดี
เมื่อมันกล้าขึ้นมา มันก็คือมรรค นี่แหละคือหนทาง ทางอื่นไม่มี
|
|
|
|
ความสงบที่เกิดจากปัญญานี้ไม่ได้ถือเอาความสุขเป็นความสงบ
แต่ถือเอาจิตที่รู้จักพิจารณาสุข |
ทุกข์เป็นความสงบ
เพราะว่าความสุขทุกข์นี้เป็นภพเป็นชาติเป็นอุปาทาน จะไม่พ้นจากวัฎฎสงสารเพราะติดสุขติดทุกข์
ความสุขจึงไม่ใช่ความสงบ ความสงบจึงไม่ใช่ความสุข ฉะนั้นความสงบที่เกิดจากปัญญานั้นจึงไม่ใช่ความสุข
แต่เป็นความรู้เห็นตามความเป็นจริงของความสุข ความทุกข์แล้ว
ไม่มีอุปาทานมั่นหลายในสุขทุกข์ที่มันเกิดขึ้นมา ทำจิตให้เหนือสุขเหนือทุกข์นั้น
ท่านจึงเรียกว่าเป็นเป้าหมายของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
|
|
|
--------------------------------------- |
|
|