ความรู้สำหรับประชาชน
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ควรรู้
  - ไวรัสตับอักเสบบีและซีกับมะเร็งตับ
  - มะเร็งปากมดลูกและวัคซีน
  - มะเร็งศีรษะและลำคอ
  - มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  - มะเร็งผิวหนัง
  - มะเร็งรังไข่
  - มะเร็งโพรงหลังจมูก
  - มะเร็งช่องปาก
  - มะเร็งต่อมไทรอยด์
  - มะเร็งกล่องเสียง
  - เนื้องอกสมอง
  - มะเร็งกระเพาะอาหาร
  - มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
  - มะเร็งหลอดอาหาร
  - มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  - มะเร็งต่อมลูกหมาก
  - มะเร็งตับ
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  - มะเร็งเต้านม
  - มะเร็งปอด
  - มะเร็งปากมดลูก
 
ความรู้โรคมะเร็ง
 
 
มะเร็งกล่องเสียง
 
     
 
วันที่ 19 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
          มะเร็งกล่องเสียง เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชาย โดยพบในอัตราส่วน ชายต่อหญิง เป็น 10 ต่อ 1 ซึ่งพบได้ประมาณ 2.8% ของมะเร็งทั้งหมด และพบมากในช่วงอายุ 50 – 60 ปี ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียงก็คือ การสูบบุหรี่และการดื่มเหล้า
 
อาการแสดงของมะเร็งกล่องเสียง :
          ผู้ป่วยมักจะไปพบแพทย์ด้วยอาการเสียงแหบโดยมักไม่มีอาการเจ็บคอร่วมด้วย ซึ่งหากรอยโรคอยู่ที่ตำแหน่งของสายเสียงจะแสดงอาการนี้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก และสามารถทำการรักษาให้หายได้ แต่หากเป็นที่ตำแหน่งอื่นของกล่องเสียง อาการเสียงแหบมักจะแสดงออกในระยะที่ลุกลามแล้ว และบางครั้งอาจมีอาการกลืนลำบากร่วมด้วย
 
การรักษามะเร็งกล่องเสียง :
          ในระยะเริ่มแรกจะใช้การฉายรังสีเป็นหลัก เพราะให้ผลการรักษาได้เท่าเทียมกับการผ่าตัด และยังสามารถรักษากล่องเสียงไว้ได้ซึ่งทำให้ผู้ป่วยยังคงพูดได้เป็นปกติ แต่ในระยะลุกลามจะใช้การรักษาร่วมระหว่างการผ่าตัดและฉายรังสี
          ดังนั้นข้อควรปฏิบัติ เมื่อมีอาการเสียงแหบเกินกว่า 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะเมื่อไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการไอ และเจ็บคอ ควรไปพบแพทย์ทาง หู คอ จมูก หรือแพทย์ผู้ชำนาญทางโรคมะเร็ง เพื่อส่องตรวจดูในคอบริเวณกล่องเสียงว่ามีความผิดปกติใดหรือไม่ ซึ่งหากพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรกจะได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น
 
 
กลับสู่ด้านบน
     
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th