 |
|
|
|
โดย
นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ |
|
กรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข |
|
|
 |
|
 |
|
ความหมายของจิตวิทยาแนวพุทธ |
|
จิตวิทยาแนวพุทธ
คือการนำศาสตร์ที่ศึกษาถึงจิตใจ และ |
กระบวนการทางจิตใจคือจิตวิทยา
มาอธิบายกระบวนการการเกิดทุกข์และการพ้นทุกข์
อันเป็นสาระสำคัญของพุทธศาสนานั้นเอง |
|
|
|
|
|
ความแตกต่างระหว่างจิตวิทยาแนวพุทธ
จิตวิทยาทั่วไป และพุทธศาสนา |
 |
|
จิตวิทยาทั่วไป
หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน และสังเกตเห็นได้โดย |
ทางอ้อม
ตลอดจนการศึกษากระบวนการทำงานของจิตเพื่อการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ
แต่ไม่ได้มีเป้าหมายให้พ้นทุกข์อย่างถาวร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของจิตวิทยาแนวพุทธ |
|
|
พุทธศาสนา
รวมความถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างขวาง
ทั้งยังรวมไปถึง |
ความเชื่อถือ
และการประพฤติปฏิบัติของชาวพุทธด้วย ขณะที่จิตวิทยาแนวพุทธ
จะนำบางส่วนของพุทธศาสนา โดยเฉพาะส่วนแก่นกลางที่กล่าวถึงความทุกข์ทางใจ
กระบวนการเกิดและดับของความทุกข์ทางใจ โดยอาศัยคำอธิบายของกระบวนการทางจิตใจที่ใช้กันอยู่ในจิตวิทยามาประยุกต์
เพื่อให้เกิดความเข้าใจสำหรับคนในยุคปัจจุบันที่คุ้นเคยกับจิตวิทยา |
|
|
ความหมายของคำว่า
สุข และทุกข์ ทางใจ |
|
 |
|
มนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมประสบกับภาวะจิตใจทั้งที่เป็นความสุข |
และความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น
ถ้าถามว่า ความสุข หมายถึงอะไร เราก็อาจตอบได้ว่า ความสุข
หมายถึง การที่เราได้รับความพึงพอใจ ความสมหวังจากสิ่งต่างๆ
รอบด้าน |
|
|
|
จากความหมายดังกล่าว
ถ้าถามว่า ความสุขของคุณคืออะไร เราจะ |
ได้รับคำตอบที่แตกต่างกันไป
เช่น บางคนสุขเพราะได้อยู่กับคนที่รักหรือถูกใจ บางคนสุขเพราะได้ทำงานที่ถูกใจ
สุขจากประสบความสำเร็จในการทำงาน สุขจากการได้ทำบุญ สุขจากการรอดภัยอันตราย
สุขจากการได้ของถูกใจ หรือบางคนเพียงแค่เจอเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอกันมานานก็เป็นสุขแล้ว |
|
|
|
ในทำนองเดียวกับคนทั่วไปอธิบายความสุข
ความทุกข์ หมายถึงสิ่งที่เราได้รับไม่เป็นที่พึงพอใจของ |
เรา
หรือเราสูญเสียสิ่งที่เราไม่อยากให้เสียไป เนื่องจากความทุกข์เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนา
และพยามหลีกเลี่ยง จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการศึกษาและเอาชนะไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาหรือศาสนาต่าง
ๆ |
|
|
ความทุกข์ใจ
ในทางจิตวิทยาเป็นภาวะยุ่งยากทางจิตใจ |
 |
|
เช่น
ความกลัว ความวิตกกังวล ความรู้สึกผิด ละอายใจ ความท้อแท้สิ้นหวัง
เป็นต้น ความทุกข์น |
ี้เกิดจากการปรับตัวไม่ได้
หรือเสียสมดุลโดยอาจเกิดจากปัจจัยภายใน เช่น ความแปรปรวนในความคิดหรือภาวะอารมณ์ของเราเอง
และหรือปัจจัยภายนอกมาทำให้เกิดความคิดและความรู้สึกที่เป็นทุกข์
เช่น การสูญเสียสิ่งรัก การประสบความผิดหวัง การเผชิญภาวะวิกฤติต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน อาชีพ การทำงาน ครอบครัว ความยุ่งยากเหล่านี้อาจเป็นภาวะชั่วคราวของการปรับตัว
หรือกระทั่งกลายเป็นความผิดปกติทางจิตใจ |
|
|
|
ในทางจิตวิทยา
ภาวะเป็นสุขทุกข์ไม่ว่าจะมีปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดก็ |
ตาม
ในที่สุดก็จะมีจุดร่วมที่เกี่ยวข้องกัน หรือมีสาเหตุจาก |
 |
|
1.
ความคิดทางลบ |
|
|
2.
ความรู้สึกเครียดที่สะสมในจิตใจ |
|
ความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์
ทางจิตวิทยาจัดอยู่ในกลุ่ม |
ความคิดทางลบ
เช่น คิดแต่สิ่งที่สูญเสีย คิดอยู่แต่กับอดีต มองโลกในแง่ร้าย
กลัวการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ความรู้สึกที่ทำให้ทุกข์ใจจะมีลักษณะร่วม
คือ เป็นความเครียดของจิตใจ เมื่อคนเราเผชิญความกดดันต่างๆ
รอบตัว ทั้งเรื่องที่รับรู้ว่าเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่
เมื่อประกอบกับความคิดทางลบที่ได้กล่าวมาแล้ว ความรู้สึกเครียดก็จะสะสม
จนทำให้กลายเป็นความวิตกกังวล หรือนานไปก็กลายเป็นความท้อแท้สิ้นหวัง
และซึมเศร้าในที่สุด |
|
|
|
|
|
การศึกษาในปัจจุบันพบว่า
แต่ละบุคคลมีความอ่อนไหวภายในตนเองที่จะเกิดความคิดทาง |
ลบ
และความรู้สึกเครียด จนทำให้เกิดความทุกข์ใจได้ต่างๆ กัน
เพราะสาเหตุในด้าน |
 |
|
1.
ความคิดทางลบ
2. ปมในจิตใจที่สะสมมาจากวัยเด็ก
3. ประสบการณ์ในตลอดชีวิต |
|
|
|
เมื่อคนเรามีความทุกข์
ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ที่เกิดจากความคิดหรือความรู้สึกก็ตาม
จะพยายาม |
ที่จะขจัดความทุกข์เหล่านั้น
แนวคิดทางจิตวิทยาเสนอกระบวนการพัฒนาตนเองที่จะจัดการกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นโดย |
|
|
|
1.
การจัดการกับอารมณ์ โดยใช้เทคนิคการผ่อนคลายวิธีต่างๆ ในการคลายเครียด
เช่น |
 |
|
|
1.
การหายใจ
2. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
3. การจินตนาการ |
 |
|
เพื่อให้ความรู้สึกนั้นมันออกจากตัวเรา
และเกิดอารมณ์ |
ทางบวกในลักษณะของความสงบและผ่อนคลายเข้ามาแทนที่ |
|
|
|
|
|
2.
การจัดการกับความคิด โดยปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ให้เป็นคิดทางบวก
(Positive Thinking) |
|
|
|
ตัวอย่าง
เมื่อเกิดมหัตภัยพิบัติ ผู้ที่สูญเสีย เกิดความทุกข์ใจเพราะมองแต่ด้านที่ตนสูญเสียไป
ก็ |
ปรับเปลี่ยน
วิธีคิดเสียใหม่ว่าตนยังมีอะไรเหลืออยู่บ้าง เช่น มีเวลาให้กับตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น
หรือเหตุการณ์นั้นทำให้ เราได้เรียนรู้ที่จะนำมาเป็นบทเรียน
เพื่อจะปรับปรุงสิ่งบกพร่องต่อไป |
|
|
|
การพัฒนาตนเองแนวจิตวิทยาทั้ง
2 วิธีการนั้น สามารถช่วยบรรเทาทุกข์ที่เกิดขึ้น ให้มีความคิด
|
ความรู้สึกที่บรรเทาเบาบางได้
แต่ไม่ใช้วิธีที่ดับทุกข์ เพราะยังไม่ได้เน้นให้หยั่งรู้ถึงความเป็นจริงว่าสิ่งใดก็ตามเมื่อมันเกิดก็ต้องมีดับไป
จนสามารถปล่อยวางทั้งในเรื่องนั้นและเรื่องอื่นๆ ได้ |
|
|
|
|
|
หมายเหตุ
: ศึกษา เรื่องหลักธรรมมะเพิ่มเติม เช่น
วิธีดับทุกข์ เป็นต้น |
|
|
--------------------------------------- |
|
|
|
|