ความรู้สำหรับประชาชน
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ควรรู้
  - ไวรัสตับอักเสบบีและซีกับมะเร็งตับ
  - มะเร็งปากมดลูกและวัคซีน
  - มะเร็งศีรษะและลำคอ
  - มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  - มะเร็งผิวหนัง
  - มะเร็งรังไข่
  - มะเร็งโพรงหลังจมูก
  - มะเร็งช่องปาก
  - มะเร็งต่อมไทรอยด์
  - มะเร็งกล่องเสียง
  - เนื้องอกสมอง
  - มะเร็งกระเพาะอาหาร
  - มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
  - มะเร็งหลอดอาหาร
  - มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  - มะเร็งต่อมลูกหมาก
  - มะเร็งตับ
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  - มะเร็งเต้านม
  - มะเร็งปอด
  - มะเร็งปากมดลูก
 
ความรู้โรคมะเร็ง
 
 
มะเร็งช่องปาก
 
     
 
วันที่ 19 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
          ช่องปากเป็นอวัยวะที่ต้องสัมผัส เสียดสีกับสิ่งภายนอกร่างกาย และภายในช่องปากทุกวัน การเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ในช่องปากจึงเกิดขึ้นได้บ่อย มะเร็งในช่องปากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับหนึ่งในห้าของมะเร็งที่พบมากที่สุดของมะเร็งในเพศชาย และมักพบในผู้สูงอายุ ระหว่าง 50 - 60 ปี ขึ้นไป
          
 
สาเหตุ :
          ปัจจัยภายนอกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อจนกลายพันธุ์ไปเป็นมะเร็งช่องปาก มีดังนี้ เชื้อโรค สารเคมี ความร้อนและรังสี สภาพเรื้อรังของการเสียดสีจากวัสดุหรืออุปกรณ์บางชนิดที่ใช้ในช่องปาก อาหาร และพันธุกรรม
          ในปัจจุบันทราบว่า การเคี้ยวหมาก สูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งในช่องปาก นอกจากนี้การมีฟันปลอมที่ไม่พอดีหรือมีฟันเก และเสียดสีกับลิ้นหรือกระพุ้งแก้มตลอดเวลาก็เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งในช่องปากได้
 
ตำแหน่งของมะเร็งช่องปากและอาการแสดง :
          มะเร็งช่องปากพบได้ในหลายตำแหน่ง เช่น มะเร็งที่ริมฝีปาก ที่เหงือก ที่ลิ้น ที่กระพุ้งแก้ม ที่เพดานปาก เป็นต้น อาการส่วนใหญ่ของมะเร็งในช่องปาก คือ การพบก้อน หรือติ่งเนื้อ หรือ แผลเกิดขึ้น โดยก้อนเนื้อเหล่านั้นจะโตขึ้นเรื่อยๆ เจ็บเวลาสัมผัส หรือเวลากินอาหาร บางครั้งอาจจะมีเลือดออกจากก้อน หรือมีการอักเสบเกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยบางรายอาจเริ่มด้วยมีลักษณะของแผลที่เหงือกร่วมกับฟันโยกคลอน และหลุดออก หรือในบางรายอาจพบก้อน หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอโตขึ้นโดยความผิดปกติในช่องปากยังมีไม่มากก็ได้
การรักษา :
          หากเป็นมะเร็งในช่องปากในระยะแรก ๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในปัจจุบันวิธีการรักษาที่เป็นที่ยอมรับและได้ผล คือ การผ่าตัด และ การฉายรังสี ซึ่งอาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ผลพยาธิวิทยาและสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย และถึงแม้ว่าจะเป็นมะเร็งในระยะที่ลุกลามแล้วก็ยังสามารถที่จะรักษาเพื่อควบคุมโรคและบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคได้ดี
 
การป้องกัน :
          สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการตรวจพบรอยโรคในระยะเริ่มแรก และหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของมะเร็งในช่องปาก เช่น งดสูบบุหรี่ ไม่เคี้ยวหมาก และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์แต่พอควร รวมถึงการแก้ไขสิ่งระคายเคืองในช่องปาก เช่น ฟันคม ฟันปลอมหลวม และรักษาสุขภาพอนามัยของช่องปากให้ดี
 
         
 
กลับสู่ด้านบน
 
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th