มะเร็งโพรงหลังจมูก
เป็นมะเร็งที่พบมากอีกโรคหนึ่งโดยเฉพาะคนเชื้อชาติจีน
มะเร็งโพรงหลังจมูกส่วนใหญ่จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
สาเหตุส่งเสริมมาจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า
เอ็บสไตน์บาร์ ไวรัส การรับประทานอาหารที่มีสารไนโตรซามีน
ซึ่งมีอยู่ในอาหารเนื้อสัตว์หมักดอง เช่น ไส้กรอก
แหนม ปลาร้า เนื้อสัตว์ย่างต่าง ๆ ปลาเค็ม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของโพรงหลังจมูก
และสุขภาพของช่องปากไม่ดีอีกด้วย |
|
|
|
|
|
 |
อาการแสดงของมะเร็งโพรงหลังจมูก
: แบ่งได้เป็น
5 กลุ่ม |
1.
อาการทางจมูก มีอาการระคายเคืองหลังโพรงจมูก
มีน้ำมูกปนเลือด มีเลือดออกทางจมูกบ่อย ๆ แน่นหรือคัดจมูก
หรือเสียงเปลี่ยนไป |
2.
อาการทางหู มักจะเกี่ยวข้องกับการอุดตันของท่อปรับความดันของหูชั้นกลาง
อันเนื่องมาจากการลุกลามของมะเร็ง เป็นผลให้ความกดอากาศในหูชั้นกลางลดลง
ทำให้มีอาการหูอื้อ ซึ่งอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ |
|
3.
อาการทางระบบประสาท ทำให้มีอาการชาหรือ
เจ็บเสียวที่แก้มข้างเดียวกับมะเร็ง นอกจาก นี้ยังมีอาการกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต
ทำให้มองเห็นภาพซ้อน และมีอาการตาเหล่ การรับกลิ่นเสียไป |
|
|
4.
ก้อนบริเวณคอ เมื่อมะเร็งลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
ผู้ป่วยอาจมาด้วยก้อนเพียงก้อนเดียว หลายก้อนติดกันหรือห่างกัน
แต่ที่พบบ่อยมักจะเป็นเพียงก้อนเดียว มีลักษณะแข็งไม่เจ็บและเคลื่อนไปมาได้
5.
อาการอื่น ๆ ที่พบบ่อยคือ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
มีไข้ต่ำ ๆ และอาจจะมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น สำลักน้ำขึ้นจมูก
เป็นต้น |
|
|
|
 |
การวินิจฉัยมะเร็งโพรงหลังจมูก
: |
-
การตรวจร่างกายและตรวจโพรงหลังจมูก
-
การตัดชิ้นเนื้อ จากเนื้องอกในโพรงจมูกไปตรวจทางพยาธิวิทยา
และการตรวจเลือด
|
 |
|
 |
การรักษา
: |
มีหลายวิธีขึ้นกับระยะของโรค
แพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีร่วมกัน คือ
1.
การฉายรังสีรักษา เป็นที่นิยมและยอมรับว่าเป็นการรักษาที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน
2.
เคมีบำบัด
3.
การรักษาแบบผสมผสาน เช่น การฉายแสง ร่วมกับ เคมีบำบัด
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|