 |
รังไข่
เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างค่อนข้างกลม อยู่ในช่องท้องใกล้กับปลายท่อนำไข่
ส่วนอีกปลายด้านหนึ่งจะเปิดเข้าสู่มดลูก ซึ่งจะมีอยู่
2 ข้างของมดลูก มะเร็งรังไข่มักไม่มีอาการในระยะเริ่มแรก
จนกระทั่งมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ
ซึ่งเป็นระยะลุกลามมากแล้วจึงจะเริ่มมีอาการ มะเร็งรังไข่พบได้ในทุกกลุ่มอายุ
รวมทั้งในทารกและเด็กด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เราก็มีวิธีเฝ้าระวังและตรวจหามะเร็งรังไข่ได้ |
|
|
|
|
 |
สาเหตุที่ชัดเจนของมะเร็งรังไข่ยังไม่ทราบ
แต่มีปัจจัยส่งเสริมคือ |
-
ผู้ที่อาศัยในประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว
ซึ่งแวดล้อมด้วยสารเคมี หรือสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย
-
ปัจจัยทางด้านอาหาร โดยเฉพาะการบริโภคไขมันสัตว์มาก ๆ
-
ปัจจัยทางพันธุกรรมถ้าหากมีประวัติญาติในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งรังไข่
มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ |
|
|
|
 |
อาการและอาการแสดง |
-
คลำได้ก้อนในช่องท้อง
-
รู้สึกท้องโตขึ้น
-
มีอาการท้องอืดเป็นประจำ
-
ปวดท้อง แน่นท้อง เมื่อก้อนโตขึ้นจะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือกดเบียดลำไส้ส่วนปลายทำให้ปวดถ่วง
ถ่ายอุจจาระไม่ออก
-
อาการตกเลือดในช่องท้อง
-
น้ำหนักตัวลด โดยไม่พบสาเหตุ
-
ขาดประจำเดือน หรือมีเลือดออกกระปริบกระปรอยทางช่องคลอด
|
ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป
|
|
|
|
 |
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งรังไข่
มีดังนี้
|
1.
การตรวจภายในร่วมกับการตรวจหน้าท้อง ซึ่งอาจคลำพบก้อนบริเวณท้องน้อยได้
2.
การตรวจทางคลื่นเสียงความถี่สูง หรือการทำอุลตราซาวด์
การส่องกล้องทางช่องท้อง
3.
การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ |
|
|
|
 |
การรักษา |
ส่วนมากทำโดยการผ่าตัด
ร่วมกับการรักษาด้วยรังสี และให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด
ชนิด และระยะของโรค |
|
|
|
 |
วิธีการป้องกัน |
เนื่องจากมะเร็งรังไข่ในระยะแรก
ๆ มักจะไม่มีอาการ ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ก็คือการตรวจค้นหามะเร็งโดยการตรวจภายในปีละ
1 ครั้ง พร้อมกับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะสามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ในระยะแรก |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|