ความรู้สำหรับประชาชน
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ควรรู้
  - ไวรัสตับอักเสบบีและซีกับมะเร็งตับ
  - มะเร็งปากมดลูกและวัคซีน
  - มะเร็งศีรษะและลำคอ
  - มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  - มะเร็งผิวหนัง
  - มะเร็งรังไข่
  - มะเร็งโพรงหลังจมูก
  - มะเร็งช่องปาก
  - มะเร็งต่อมไทรอยด์
  - มะเร็งกล่องเสียง
  - เนื้องอกสมอง
  - มะเร็งกระเพาะอาหาร
  - มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
  - มะเร็งหลอดอาหาร
  - มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  - มะเร็งต่อมลูกหมาก
  - มะเร็งตับ
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  - มะเร็งเต้านม
  - มะเร็งปอด
  - มะเร็งปากมดลูก
 
ความรู้โรคมะเร็ง
 
 
มะเร็งผิวหนัง
 
     
 
วันที่ 19 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
ที่มา : สถาบันโรคผิวหนัง
 
สาเหตุ : ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง: :
        • เกิดจากการถูกแสงแดดมากเกินไป
        • การถูกแสงเอกซเรย์ในปริมาณสูง
        • แผลเป็นจากรอยไหม้
        • ได้รับสารหนูในปริมาณสูง
          • ผู้ที่ถูกแสงแดดมาก
        • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง
        • ผู้ที่มีผิวขาว และไวต่อการไหม้จากแสงแดด
     
มะเร็งผิวหนังที่พบบ่อย :
        1. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า (Basal Cell Carcinoma)
           - มีลักษณะเป็นตุ่มนูนใส ขอบม้วน อาจมีสีดำหรือแตกเป็นแผล
           - พบบ่อยบริเวณที่ถูกแดด เช่น ใบหน้า
           - ใช้ระยะเวลานานในการแพร่กระจายโรค
   
        2. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า (Squamous Cell Carcinoma)
           - มีสัญลักษณ์นูน แดง ผิวหนังแตกเป็นแผล เลือดออกง่าย
           - พบบ่อยบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ขอบใบหู
           - สามารถแพร่กระจายจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งได้
           - โตและขยายเป็นวงกว้างได้เร็วและลึกกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดแรก
   
        3. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (Malignant Melanoma)
           - มีลักษณะคล้ายไฝหรือขี้แมลงวัน หรือ เป็นจุดดำบนผิวหนัง
           - ไฝบนฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใต้เล็บ มีโอกาสเป็นมากกว่าที่อื่น ๆ
           - สัญญาณอันตรายของมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงของผิว ของไฝหรือขี้แมลง วันเช่น มีการตกสะเก็ด ลอก หรือมีอาการปวด มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลเยิ้ม มีตุ่มนูน เกิดขึ้นข้าง ๆ มีการแพร่กระจายของเม็ดสีไปรอบ ๆ


การรักษา :
        การตรวจพบในระยะเริ่มแรกถือเป็นการรักษาที่ดีที่สุดการรักษามะเร็งผิวหนังมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง เช่น
        • การผ่าตัด
        • การจี้ไฟฟ้า
        • การรักษาด้วยแสงเลเซอร์
        • การฉายแสงหรือการใช้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง
การป้องกัน :
        • การหลีกเลี่ยงจากแสงแดดเป็นการป้องกันมะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุด
        • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง เช่น การรับประทานยาที่มีส่วนผสมของสารหนู
        • หมั่นสังเกตความผิดปกติของไฝหรือขี้แมลงวัน หากพบว่ามีผิวหนังที่ผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
        • ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน
        • สวมเสื้อที่มิดชิด lสวมหมวกปีกกว้างหรือกางร่ม
        • ควรเริ่มป้องกันแสงแดดตั้งแต่วัยเด็ก
     
กลับสู่ด้านบน
 
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th