ความรู้สำหรับประชาชน
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ควรรู้
  - ไวรัสตับอักเสบบีและซีกับมะเร็งตับ
  - มะเร็งปากมดลูกและวัคซีน
  - มะเร็งศีรษะและลำคอ
  - มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  - มะเร็งผิวหนัง
  - มะเร็งรังไข่
  - มะเร็งโพรงหลังจมูก
  - มะเร็งช่องปาก
  - มะเร็งต่อมไทรอยด์
  - มะเร็งกล่องเสียง
  - เนื้องอกสมอง
  - มะเร็งกระเพาะอาหาร
  - มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
  - มะเร็งหลอดอาหาร
  - มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  - มะเร็งต่อมลูกหมาก
  - มะเร็งตับ
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  - มะเร็งเต้านม
  - มะเร็งปอด
  - มะเร็งปากมดลูก
 
ความรู้โรคมะเร็ง
 
 
มะเร็งปอด
 
     
 
วันที่ 19 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
   
 
          มะเร็งปอด  เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในเพศชายทั้งหมดในประเทศไทยซึ่งตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ค่อนข้างยาก
     
 
สาเหตุ : ของมะเร็งปอดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีสาเหตุส่งเสริมหรือปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดดังนี้ คือ
          1. ร้อยละกว่า 90 เกิดจากการสูบบุหรี่
               • ผู้สูบมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบถึง 10 เท่า
               • ผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่ของผู้อื่นเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดด้วยเช่นกัน
               • ควันบุหรี่ มีสารประกอบมากกว่า 4,000 ชนิด และในจำนวนนี้ ประมาณ 60 ชนิด ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ตัวกระตุ้นและตัวส่งเสริมให้เกิดมะเร็งปอด ได้แก่ ทาร์ นิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นต้น
               • มะเร็งปอดพบมากในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งนิยมสูบบุหรี่พื้นเมือง ยามวน ซึ่งมีปริมาณทาร์ และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ สูง
          2. การสัมผัสกับสารแอสเบสทอส ซึ่งเป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค คลัช ฉนวนความร้อน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เหมืองแร่ โดย
            • ผู้ที่เสี่ยงคือ ผู้ที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้ แอสเบสทอสเป็นส่วนประกอบ
            • ระยะเวลาตั้งแต่สัมผัสฝุ่นแอสเบสทอส จนเป็นมะเร็งปอดอาจใช้เวลา 15–35 ปี
            • ผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสทอส เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไป 5 เท่า
            • ผู้ที่สูบบุหรี่ และทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสทอสด้วย จะเสี่ยงต่อมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 90 เท่าทีเดียว
          3. เรดอน เป็นก๊าซกัมมันตรังสี ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียมในหินและดิน กระจายอยู่ในอากาศและน้ำใต้ดิน ในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท เช่น ในเหมืองใต้ดิน อาจมีปริมาณมากทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้
          4. มลภาวะในอากาศ ได้แก่ควันพิษจากรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานถลุงเหล็ก โครเมียม นิเกิล แคดเมียม โรงงานน้ำมัน ดินน้ำมัน เป็นต้น
          5. สาเหตุอื่น ๆ เช่น พันธุกรรม ผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคถุงลมโป่งพอง วัณโรค เป็นต้น
     
อาการแสดง :
         มะเร็งปอดในระยะแรกจะยังไม่มีอาการ ส่วนใหญ่จะมีอาการแสดงเมื่อโรคเป็นมากแล้ว อาการที่อาจพบได้ คือ
         1. ไอเรื้อรัง ลักษณะไอแห้ง ๆ นานกว่าธรรมดา บางครั้งมีเสมหะหรือมีเลือดออก
         2. น้ำหนักลดรวดเร็ว
         3. เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย
         4. เหนื่อยง่าย
         5. เจ็บหน้าอก

         นอกจากนี้ ถ้าโรครุนแรงเพิ่มขึ้นก็จะมีอาการ
         • หอบเหนื่อย
         • บวมบริเวณ คอ หน้า แขน อก จากการที่ก้อนกดทับเส้นเลือดดำใหญ่
         • กลืนอาหารลำบาก เป็นต้น
         ซึ่งอาการเหล่านี้ อาจจะคล้ายกับอาการของโรคปอดอื่น ๆ ได้ด้วย ซึ่งอย่าเพิ่งตกใจหากมีอาการเหล่านี้ สิ่งสำคัญคือ ควรจะมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
 
วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปอด : มีดังนี้
         1. ถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด
         2. ตรวจเสมหะที่ไอออกมาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง
         3. ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม
         4. ตัดชิ้นเนื้อบางส่วนจากหลอดลม หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้าไปตรวจเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา
 
การรักษา :
         เมื่อพบว่าเป็นมะเร็งปอดแน่นอนแล้ว แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าผู้ป่วยควรจะได้รับการรักษาแบบใด จึงจะเหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาถึงอายุ ภาวะความแข็งแรงของร่างกาย ระยะของโรค ชนิดของมะเร็ง และการยอมรับของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบด้วย
         1. การผ่าตัด หากเป็นในระยะเริ่มแรก
         2. รังสีรักษา
         3. เคมีบำบัด
         4. การรักษาแบบผสมผสาน คือ การใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันเพื่อบรรเทาอาการ
 
 
   
 
   
กลับสู่ด้านบน
   
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th