ความรู้สำหรับประชาชน
  - วิธีการเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเอง
  - เคล็ดลับ..เลิกบุหรี่
  - มั่นใจได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็นมะเร็งลำไส้
  - ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยสเตอริโอแทคติก
  - แมมโมแกรม
  - มะเร็งสยบ เมื่อพบตั้งแต่แรก
  - วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  - บุหรี่กับสุขภาพ
  - วิธีการตรวจหามะเร็งปากมดลูก
  - เมื่อสงสัยว่าเป็นมะเร็ง
  - คำแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็ง
  - ทำอย่างไรไม่ให้เป็นมะเร็ง
  - ปัจจัยเสี่ยงและอาการของมะเร็ง
  - ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง
 
การตรวจหามะเร็งและอาการ
 
 
ปัจจัยเสี่ยงและอาการของมะเร็ง
 
     
 
วันที่ 20 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
 
         โรคมะเร็ง หมายถึง โรคที่เนื้อเยื่อ(เซลล์) ของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงโดยการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือแพร่กระจายไปตามอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ ปกติโรคมะเร็งจะไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง แต่โรคมะเร็งในบางกลุ่มจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นต้น และมะเร็งบางชนิดอาจจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งตับ เป็นต้น การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
 
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง :
          การเกิดโรคมะเร็งเป็นกระบวนการหลายขั้นตอน มีกลไกสลับซับซ้อน ที่ทำให้เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์ มะเร็ง สาเหตุหรือปัจจัยบางอย่างมีส่วนส่งเสริมให้เป็นโรคมะเร็ง ดังนี้
          • การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิด เช่น ไวรัสตับอักเสบ เอชพีวีไวรัส เป็นต้น
          • พยาธิใบไม้ในตับ จากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับและทางเดินน้ำดี
          • สารเคมีและสารก่อมะเร็งต่างๆ เช่น สารแอสเบสตอส นิเกิล โครเมี่ยม ดินประสิว ควันบุหรี่ เป็นต้น
          • โรคมะเร็งชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่และสำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก
          การสังเกตความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นสัญญาน ว่า อาจจะ เป็นโรคมะเร็ง การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรกหรือระยะที่ยังไม่ลุกลามจะทำให้ผลการรักษาดีเป็นสิ่งที่สำคัญ และควรรีบมาพบ แพทย์เมื่อท่านสังเกตพบความผิดปกติเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป
     
ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคมะเร็งและอาการ    ที่ อาจจะ เป็นโรคมะเร็งที่ควรทราบ มีดังนี้
 
 
โรคมะเร็ง
ปัจจัยเสี่ยง อาการแสดงที่ควรระวัง
  มะเร็งปากมดลูก
  คลิกดูรายละเอียด : มะเร็งปากมดลูก
 
 
  มะเร็งเต้านม
  คลิกดูรายละเอียด : มะเร็งเต้านม
 
  มะเร็งบริเวณปากและลำคอ
  คลิกดูรายละเอียด : มะเร็งปอด
 
 
   
  มะเร็งปอด
  คลิกดูรายละเอียด : มะเร็งปอด
 
  มะเร็งลำไส้ใหญ่และำลำไส้ตรง
คลิกดูรายละเอียด : มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  มะเร็งหลอดอาหาร
  คลิกดูรายละเอียด : มะเร็งหลอดอาหาร
  มะเร็งตับ
  คลิกดูรายละเอียด : มะเร็งตับ
 
  มะเร็งต่อมลูกหมาก
  คลิกดูรายละเอียด : มะเร็งต่อมลูกหมาก
 
   
  - มีประวัติติดเชื้อหูดหงอนไก่ หรือติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  - มีเลือดหรือตกขาวออกทางช่องคลอดผิดปกติหรือมีกลิ่น
  - มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย หรือมีคู่นอนหลายคน
  - สูบบุหรี่
  - มีก้อนที่เต้านมหรือมีเลือด น้ำเหลืองไหลออกจากหัวนม
  - มีประวัติญาติที่ใกล้ชิดเป็นมะเร็งเต้านม
  - ใช้ยาคุมกำเนิดนานมากกว่า 5 ปี
 
  - สูบบุหรี่และดื่มสุราจัด
  - การดูแลสุขภาพอนามัยของปากไม่ดี
  - รับประทานหมากหรืออมเมี่ยง
  - เป็นแผลเรื้อรังที่เหงือกและในช่องปาก
  - คลำพบก้อนบริเวณลำคอ
  - สูบบุหรี่จัด หรือเริ่มสูบหรี่ตั้งแต่อายุน้อย
  - ไอเรื้อรัง หรือไอเป็นเลือด
  - มีอาการเหนื่อยหอบ
 
  - มีประวัติติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงทั้งของตนเองและ
ญาติใกล้ชิด
  - มีประวัติญาติใกล้ชิด(พ่อ แม่ พี่น้อง) เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  - ลำไส้อักเสบเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
  - อุจจาระเป็นมูกหรือมูกปนเลือด ท้องผูกสลับท้องเสีย
  - เครื่องดื่มร้อนจัดเป็นประจำ ดื่มสุราจัด
  - มีอาการกลืนลำบาก
 
 
  - รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น กุ้ง หอย และปลา(น้ำจืด)
  - มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ
  - รับประทานอาหารที่มีเชื้อรา เช่น ถั่วลิสง พริกแห้ง เป็นต้น
  - ท้องอืด ท้องโตขึ้น ตัวหรือตาเหลือง
 
  - มีอายุมากกว่า 60 ปี
  - มีประวัติญาติใกล้ชิด(พ่อ พี่น้อง) เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
   
   
 
   
กลับสู่ด้านบน
   
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th