ความรู้สำหรับประชาชน
  - วิธีการเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเอง
  - เคล็ดลับ..เลิกบุหรี่
  - มั่นใจได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็นมะเร็งลำไส้
  - ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยสเตอริโอแทคติก
  - แมมโมแกรม
  - มะเร็งสยบ เมื่อพบตั้งแต่แรก
  - วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  - บุหรี่กับสุขภาพ
  - วิธีการตรวจหามะเร็งปากมดลูก
  - เมื่อสงสัยว่าเป็นมะเร็ง
  - คำแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็ง
  - ทำอย่างไรไม่ให้เป็นมะเร็ง
  - ปัจจัยเสี่ยงและอาการของมะเร็ง
  - ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง
 
การตรวจหามะเร็งและอาการ
 
 
คำแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็ง
 
     
 
วันที่ 20 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
         ถึงแม้ว่าโรคมะเร็งจะเป็นโรคที่ร้ายแรง แต่มะเร็งที่เป็นกันมากทั้งในเพศชายและเพศหญิงในประเทศไทย เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก ล้วนเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันและตรวจพบได้ก่อนตั้งแต่ในระยะแรก ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้หากปฏิบัติตามแผนการตรวจค้นหามะเร็งตามช่วงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง ดังที่จะได้กล่าวต่อไป
         นอกจากนี้การตรวจสุขภาพประจำปียังเป็นการช่วยให้ทราบภาวะสุขภาพของตนเอง และความผิดปกติของร่างกายบางอย่างได้ก่อนที่โรคต่างๆ จะเป็นมาก การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมีบทบาทสำคัญยิ่งในปัจจุบัน การตรวจร่างกายประจำปีจะเป็นกลไกอันหนึ่งทางการแพทย์ที่จะใช้ตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่โรคจะเป็นมากแล้ว
 
          การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก เป็นการตรวจร่างกายของบุคคลที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ที่ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เพื่อค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะเพิ่งเริ่มก่อตัว ซึ่งสามารถจะบำบัดรักษาให้หายได้
          หลักการตรวจค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรก มีหลักการที่สำคัญคือ การสอบถามประวัติโดยละเอียด การตรวจร่างกายโดยละเอียด และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ/ ใช้เครื่องมือพิเศษ
          การสอบถามประวัติโดยละเอียด มีความสำคัญเพราะว่าประวัติต่าง ๆ อาจเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ การสอบประวัติส่วนตัว เช่น
          1. ผู้ที่สูบบุหรี่มาก ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
          2. ผู้ที่มีประวัติการร่วมเพศตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป หรือมีประวัติติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน
          3. ประวัติครอบครัว มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่มีมะเร็งบางชนิดที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยเฉพาะการมีประวัติญาติใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา พี่ น้อง เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งรังไข่ เป็นต้น
     
          ประวัติสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบแน่นอนว่ามะเร็งเกิดจากสาเหตุใด แต่สิ่งแวดล้อมบางอย่างอาจเป็นเหตุส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีในระยะเวลานาน ๆ อาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้มากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น เป็นต้น
          ประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น เป็นตุ่ม ก้อน แผลที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้น, ตกขาวมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ, เป็นแผลเรื้อรังหายยาก, ท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมลงมาก, หูด หรือปานที่โตขึ้นผิดปกติ, เสียงแหบอยู่เรื่อย ๆ ไอเรื้อรัง, การเปลี่ยนแปลงของระบบการขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะผิดไปจากปกติ
          การตรวจร่างกายโดยละเอียด เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค ในด้านการปฏิบัติแพทย์ไม่สามารถจะตรวจร่างกายได้ทุกอวัยวะทุกระบบโดยครบถ้วน จึงมีหลักเกณฑ์ว่า ในการตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น ควรตรวจอวัยวะต่าง ๆ เท่าที่สามารถจะตรวจได้ดังต่อไปนี้
          • ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบางส่วน
          • ศีรษะ และคอ
          • ทรวงอก และเต้านม
          • ท้อง
          • อวัยวะเพศ
          • ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง และทวารหนัก
     
          การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจอื่น ๆ
         1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีประโยชน์ที่จะช่วยในการตรวจค้นหา วินิจฉัย รักษารวมทั้งการตรวจติดตามผลการรักษาโรคมะเร็งได้ด้วย ประกอบด้วย
          • การตรวจเม็ดเลือด
          • การตรวจปัสสาวะ อุจจาระ
          • การตรวจเลือดทางชีวเคมี
         2. การตรวจเอกซเรย์ มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งมีวิธีการหลายอย่าง เช่น
           • การเอกซเรย์ปอด เป็นวิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่ง ในการตรวจสุขภาพ
           • การเอกซเรย์ทางเดินอาหาร ในรายที่มีปัญหาของระบบทางเดินอาหาร
          • การตรวจเอกซเรย์เต้านม เป็นการตรวจลักษณะก้อนผิดปกติที่เต้านม
         3. การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หลักสำคัญในการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยกลืน ฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าวจะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ๆ เช่น การตรวจเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ สมอง ตับกระดูก เป็นต้น
         4. การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ เพื่อตรวจลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะบางอย่าง เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ หลอดลม เป็นต้น
         5. การตรวจทางเซลล์วิทยาและพยาธิวิทยา เป็นวิธีการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรกของอวัยวะต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
          • การขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะบางส่วน เช่น ปากมดลูก, เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น
          • เก็บเซลล์จากอวัยวะบางส่วน เช่น ในช่องคลอด ในช่องปอด ในช่องท้อง เป็นต้น
     
          การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา เป็นการตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยการตัดเนื้อเยื่อ แล้วนำไปตรวจละเอียดโดยกล้องจุลทรรศน์
    มะเร็งบางชนิดอาจตรวจวินิจฉัยได้ง่าย บางชนิดตรวจวินิจฉัยได้ยาก แต่มีข้อสังเกตว่ามะเร็งที่พบได้บ่อย ๆ ใน
ประเทศไทย เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่สามารถ
ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก หากท่านใส่ใจตรวจสุขภาพและตรวจค้นหามะเร็งเป็นประจำ ดังคำแนะนำในการตรวจคัดกรอง
โรคมะเร็งและตรวจค้นหามะเร็งตามช่วงอายุต่อไปนี้
 
 
 
คำแนะนำในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งและตรวจค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก
ตามช่วงอายุ ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีดังนี้
   
 
   
   
 
        - ตรวจสุขภาพประจำปี @ คือ ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ตับ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเส้นเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์
     975 บาท
   
   
 
        - ตรวจสุขภาพประจำปี @ คือ ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ตับ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเส้นเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์
     975 บาท
        - ตรวจหาเลือดในอุจจาระทุกปี เพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
(เก็บอุจจาระส่งตรวจ 3 วัน)
        สำหรับผู้ที่มีประวัติญาติใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา พี่ น้อง เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือเคยเป็นเนื้องอก ชนิดไม่ร้ายแรงในลำไส้ ควรรับการส่องกล้องตรวจลำไส้เป็น ประจำทุก 1 - 5 ปี
   90 บาท
   
   
   
   
   
  (2,300) บาท
        - ตรวจทางทวารหนักและเจาะเลือดทุกปี เพื่อตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเลือด(PSA)
        สำหรับผู้ที่มีญาติใกล้ชิด เช่น บิดา พี่ชาย น้องชาย เป็นมะเร็ง ต่อมลูกหมาก ควรรับการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ของมะเร็ง ต่อมลูกหมากทุกปี ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป
   700 บาท
   
 
(ไม่รวมการส่องกล้องตรวจ)
  1,765 บาท
   
     
   
 
   
   
 
        - ตรวจสุขภาพประจำปี @ คือ ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ตับ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเส้นเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์
     975 บาท
        - ตรวจแป๊ปสเมียร์ทุกปี สำหรับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก
  70 บาท
        - ตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุกปี และควรตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างถูกวิธีเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหามะเร็งเต้านม
  50 บาท
   
 
  1,095 บาท
   
 
   
   
 
        - ตรวจสุขภาพประจำปี @ คือ ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ตับ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเส้นเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์
     975 บาท
        - ตรวจแป๊ปสเมียร์ทุกปี สำหรับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ เพื่อค้นหา มะเร็งปากมดลูก
  70 บาท
        - ตรวจเอกซเรย์เต้านม(แมมโมแกรม) ทุกปี เพื่อค้นหามะเร็งเต้านม
          สำหรับผู้ที่มีประวัติญาติใกล้ชิด เช่น มารดา พี่สาว น้องสาว เป็นมะเร็งเต้านม สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจ แมมโมแกรมก่อนอายุ 40 ปี
  1,200 บาท
   
 
 
  2,245 บาท
   
     
   
   
 
        - ตรวจสุขภาพประจำปี @ คตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ตับ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเส้นเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์
     975 บาท
        - ตรวจแป๊ปสเมียร์ทุกปี สำหรับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก
  70 บาท
        - ตรวจเอกซเรย์เต้านม(แมมโมแกรม) ทุกปี เพื่อค้นหามะเร็งเต้านม
          สำหรับผู้ที่มีประวัติญาติใกล้ชิด เช่น มารดา พี่สาว น้องสาว เป็นมะเร็งเต้านม สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจ แมมโมแกรมก่อนอายุ 40 ปี
  1,200 บาท
        - ตรวจหาเลือดในอุจจาระทุกปี สเพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่
และทวารหนัก (เก็บอุจจาระส่งตรวจ 3 วัน)
         
สำหรับผู้ที่มีประวัติญาติใกล้ชิดเช่น มารดา สาว น้องสาว เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือเคยเป็นเนื้องอกชนิด ไม่ร้ายแรงในลำไส้ ควรรับการส่องกล้องตรวจลำไส้เป็นประจำ ทุก 1- 5 ปี
  90 บาท
   
   
   
   
   
   
  (2,300) บาท
   
 
(ไม่รวมการส่องกล้องตรวจ)
  2,335 บาท
   
    หมายเหตุ
   
  สำหรับผู้ที่มีประวัติเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี  
  แนะนำให้ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) ช่องท้อง  
  ปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหามะเร็งตับ
     850 บาท
     
     
   
     
    @ การตรวจสุขภาพประจำปี ประกอบด้วยการตรวจดังนี้
 
การตรวจ
  CBC (เม็ดเลือด)
  Urine Examination (ปัสสาวะ)
  Film Chest (เอ็กซเรย์ทรวงอก)
  Sugar (น้ำตาลในเลือด)
  Bun (การทำงานของไต)
  Creatinine (การทำงานของไต)
  SGOT (การทำงานของตับ)
  SGPT (การทำงานของตับ)
  ALK Phosphatase
  Cholestorol (โคเลสเตอรอล)
  Triglycerides (ไตรกลีเซอไรด์)
  Uric Acid (กรดยูริค-โรคเก๊าท์)
  ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  ตรวจร่างกายภายนอก
     
        หากปฏิบัติตามโปรแกรมการตรวจค้นหามะเร็งดังที่กล่าวแล้ว จะสามารถค้นพบมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ตั้งแต่ในระยะแรก ซึ่งจะสามารถรักษาให้หายได้ นอกจากนี้ยังอาจจะพบความผิดปกติอื่นๆของร่างกายได้ตั้งแต่ยังมีอาการไม่มาก เช่น ภาวะโลหิตจาง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคทางไต โรคเกี่ยวกับตับ เป็นต้น
        การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ซึ่งสามารถช่วยให้ท่านเฝ้าระวังความผิดปกติของร่างกายได้ก่อนที่โรคจะรุนแรงขึ้น รวมทั้งช่วยให้ท่านปลอดภัยจากโรคมะเร็งที่เป็นกันมากได้ในระดับหนึ่ง
 
 
 
กลับสู่ด้านบน
 
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th