ความรู้สำหรับประชาชน
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ควรรู้
  - ไวรัสตับอักเสบบีและซีกับมะเร็งตับ
  - มะเร็งปากมดลูกและวัคซีน
  - มะเร็งศีรษะและลำคอ
  - มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  - มะเร็งผิวหนัง
  - มะเร็งรังไข่
  - มะเร็งโพรงหลังจมูก
  - มะเร็งช่องปาก
  - มะเร็งต่อมไทรอยด์
  - มะเร็งกล่องเสียง
  - เนื้องอกสมอง
  - มะเร็งกระเพาะอาหาร
  - มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
  - มะเร็งหลอดอาหาร
  - มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  - มะเร็งต่อมลูกหมาก
  - มะเร็งตับ
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  - มะเร็งเต้านม
  - มะเร็งปอด
  - มะเร็งปากมดลูก
 
ความรู้โรคมะเร็ง
 
 
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
 
     
 
วันที่ 19 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
          โรคมะเร็งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายรวมทั้งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคที่มีความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองจากเนื้องอก ที่แทรกอยู่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น และกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้เช่น ตับ ม้าม ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ระบบประสาท เป็นต้น
 
สาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง :
          ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ แต่อาจมีสาเหตุจากการผิดปกติของภูมิคุ้มกัน เช่น มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และจากสารเคมีต่าง ๆ
 
อาการแสดง :
           ต่อมน้ำเหลืองมักเริ่มโตที่คอหรือรักแร้ นานกว่า 2 สัปดาห์ หรือใหญ่กว่า 2 ซม. และบริเวณที่ ต่อมน้ำเหลืองโต มักกดไม่เจ็บ
           อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวในเวลา 6 เดือน
           อาจมีไข้เป็นพัก ๆ ไม่สม่ำเสมอ มักพบว่ามีเหงื่อออก ตัวชื้นตอนกลางคืน
           เมื่อมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณอื่น จะก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้
              • มีอาการบวมบริเวณใบหน้าและคอ เนื่องจากมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ไปกดเส้นเลือดใหญ่ ที่คอ ทำให้บวมและออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
              • ถ้าลุกลามไปยังระบบทางเดินอาหาร จะพบอาการของทางเดินอาหารอุดตัน เช่น กลืนลำบาก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องรุนแรง
              • ตับ ม้ามโต ตัวตาเหลือง
              • ถ้าลุกลามไปที่กระดูก จะมีอาการปวดกระดูก
          มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งทางระบบโลหิตวิทยาที่พบบ่อยในผู้ป่วยไทย อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 56 ปี อัตราส่วนของชาย : หญิงเท่ากับ 1.8 : 1
 
การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง :
           ทำโดยการตัดชิ้นเนื้อตรงตำแหน่งที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ควรหลีกเลี่ยงการเจาะตรวจเนื้อเยื่อด้วยเข็มหากข้อมูลจากอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยจะน่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าโรคอื่นๆ เนื่องจากการทำการเจาะตรวจเนื้อเยื่อด้วยเข็ม ไม่สามารถให้ข้อมูลการวินิจฉัยโรคที่สมบูรณ์ได้ และผู้ป่วยมักจะต้องถูกทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาอีกถ้าผลอ่านจากการเจาะตรวจเนื้อเยื่อด้วยเข็มบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
           การเจาะเลือดตรวจ  
           การตรวจความผิดปกติของโครโมโซม
           ผู้ป่วยที่ตรวจพบมีต่อมน้ำเหลืองโต ควรได้รับการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ของช่องท้อง ช่องทรวงอก เพื่อจะสามารถใช้ติดตามขนาดของต่อมน้ำเหลืองในตำแหน่งต่าง ๆ หลังการรักษา
วิธีการรักษา :
          ก่อนการรักษาควรประเมินสภาพความพร้อมของร่างกายของผู้ป่วยก่อน ซึ่งมีความสำคัญมากเนื่องจากจะช่วยประกอบการตัดสินใจว่าผู้ป่วยจะสามารถรับยาเคมีบำบัดในขนาดเต็มที่ได้หรือไม่ และยังเป็นปัจจัยการพยากรณ์โรคที่สำคัญอีกด้วย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง รักษาโดยการฉายรังสีเฉพาะที่ หรือให้ยาเคมีบำบัดแล้วตามด้วยการฉายรังสีเฉพาะที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะโรคและชนิดย่อยของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
 
การพยากรณ์โรค :
           ผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงต่ำจะมีชีวิตเฉลี่ยไม่ต่างจากประชากรปกติที่อายุใกล้เคียงกัน
           ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงปานกลางมีอายุเฉลี่ยประมาณ 7 - 9 ปีหลังการวินิจฉัยโรค
           ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงจะมีอายุเฉลี่ยเพียง 5 ปีหลังการวินิจฉัยโรค
     
กลับสู่ด้านบน
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th