 |
|
การทำแมมโมแกรม
เหมาะสำหรับเป็นการตรวจหามะเร็งเต้านมในคนปกติ |
เพราะจะสามารถเห็นเนื้อเต้านมที่ผิดปกติตั้งแต่ที่มันยังไม่ได้
ก่อตัวเป็นก้อนหรือก้อนเล็กมากจนคลำไม่ได้ ซึ่งถ้าพบได้ตั้งตอนนี้โอกาสที่จะรักษา
ให้หายขาดมีสูงมาก |
|
ประโยชน์ของการตรวจโดยวิธีนี้ก็คือ
สามารถตรวจพบก้อนมะเร็งที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ยังคลำไม่ได้
ทำให้ผลการรักษาในกลุ่มที่พบได้ผลดี ลักษณะทางภาพรังสีที่ผิดปกติ
เช่น การพบลักษณะของหินปูน ช่วยให้สงสัยว่าอาจมีก้อนมะเร็งภายในเต้านม
ซึ่งจำเป็นต้องทำการตรวจต่อโดยการใช้เข็มเพื่อนำชิ้นเนื้อเต้านมมาตรวจทางพยาธิวิทยา
หรือการตัดชิ้นเนื้อเต้านมบางส่วนมาตรวจทางพยาธิวิทยา
เพื่อให้ทราบผลชิ้นเนื้อที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
? |
|
การตรวจแมมโมแกรมที่ดีนั้นจะต้องมีเครื่องมือ
เทคนิคการตรวจ คุณภาพของฟิล์มที่ดี มีแพทย์ผู้อ่านที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีและอ่านผลด้วยความระมัดระวัง
เพื่อไม่ให้มีความผิดพลาดในการตรวจพบมะเร็งระยะแรก
ส่วนอันตรายจากการได้รับรังสีขณะตรวจแมมโมแกรมมีน้อยมาก
ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้รับการตรวจ |
|
|
|
|
 |
การตรวแมมโมแกรมควรทำเมื่อใด
: |
ในกรณีคนทั่วไปที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรเริ่มตรวจ
ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยตรวจเป็นประจำทุกปีหรือตามคำแนะนำของแพทย์ |
|
 |
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจ
: |
จะตรวจเมื่อใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร
ไม่มีการรับประทานยาหรือฉีดยาใด ๆ ควรมาตรวจหลังจากประจำเดือนหมดแล้ว
7 วัน จะทำให้รู้สึกเจ็บเต้านมลดลงในขณะทำการตรวจ
และควรงดทาแป้ง ลูกกลิ้ง หรือน้ำหอมบริเวณหน้าอกและรักแร้ |
|
|
|
|
|
|