อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
 
 
โภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
 
     
 
วันที่ 21 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
 
โดย พรพิศ เรืองขจร   
งานโภชนาการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์   
 ( 074-451060-1   
 
  1. โปรตีน   เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้
เพราะเนื้อเยื่อต่า ๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งกล้ามเนื้อ ผิวหนัง อวัยวะ
ต่างๆ ล้วนเป็นเนื้อเยื่อมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น
 
  2. คาร์โบไฮเดรต   เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญ
โดยให้พลังงานแก่เราและพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตนี้จะเสีย
ค่าใช้จ่ายถูกกว่าโปรตีนหรือไขมัน
 
  3. ไขมัน   เป็นสารอาหารที่ถือว่าเป็นจอมพลังงาน
เพราะให้แคลอรี่มากกว่า โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต รวมทั้ง  
ไขมันบางชนิดจะเป็นชนิดที่ร่างกายขาดไม่ได้เรียกว่า ไขมันจำเป็น เพราะช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อีและ
เค ที่ละลายในไขมัน
 
4.
     วิตามิน   เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ
  จำนวนไม่มากนัก แต่จำเป็นเพื่อให้ปฏิกิริยาต่าง ๆ
  ของการเผาผลาญพลังงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  ร่างกายสามารถสร้างวิตามินได้น้อยมาก ไม่เพียงพอ
  ต่อความต้องการของร่างกายต้องรับประทานอาหาร
  ประเภทผัก ผลไม้เพิ่ม
 
  5. เกลือแร่   เป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ เพราะเกลือแร่แต่ละตัวมีหน้าที่เฉพาะของตัวเอง
สามารถแบ่งเกลือแร่ออกเป็นชนิดที่ร่างกายต้องการในขนาดมาก เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม
เป็นต้น และชนิดที่ร่างกายต้องการขนาดน้อย เช่น เหล็ก สังกะสี ทองแดง ไอโอดีน เป็นต้น
   
  6. น้ำ   เป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ มนุษย์อาจอดอาหารได้เป็นเดือนๆ แต่ถ้าไม่ได้ดื่มน้ำ
2-3 วัน ก็ อาจเสียชีวิตได้ น้ำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับสองรองจากออกซิเจน
   
   
ข้อละเว้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
   
  1. ไม่รับประทานอาหารที่มีราขึ้น  อาหารที่มีราขึ้น โดยเฉพาะราสีเขียว สีเหลือง จะมีสาร
อะฟลาทอกซินปนเปื้อน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเป็นมะเร็งตับ
  2. ลดอาหารไขมัน   อาหารไขมันสูงจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ และ
ต่อมลูกหมาก
  3. ลดอาหารดองเค็ม อาหารปิ้งย่าง รมควัน และ
อาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรท-ไนไตรท์ อาหารเหล่านี้จะ
ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และ
ลำไส้ใหญ่
  4. ไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ  อาหารประเภท
นี้ เช่น ก้อยปลา ปลาจ่อม ปลาร้า ของดองสด ฯลฯ จะทำให้เป็นโรค
พยาธิใบไม้ในตับ และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทางท่อน้ำดีในตับ
  5. หยุดหรือลดการสูบบุหรี่  สูบบุหรี่จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด กล่องเสียง ฯลฯ
  6. หยุดการเคี้ยวหมาก ยาสูบ  เพราะจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก และคอ
  7. ลดการดื่มแอลกอฮอล์  ดื่มแอลกอฮอล์จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ถ้าทั้งดื่มและสูบบุหรี่ จะ
เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียงและหลอดอาหาร
 
?????????????
 
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th