|
มะเร็งหลอดอาหาร
เป็นมะเร็งที่พบมากในภาคใต้ โดยมีอุบัติการณ์สูงที่สุดในประเทศไทย
พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ที่มีอายุมากกว่า
50 ปี ขึ้น |
|
|
 |
สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร
: |
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่เชื่อว่าเกิดจากการระคายเคืองเรื้อรัง ได้แก่ การดื่มสุรา
การสูบบุหรี่ และภาวะกรดไหลย้อนกลับเข้ามาในหลอดอาหาร |
|
 |
อาการแสดงของมะเร็งหลอดอาหาร
: |
การกลืนลำบาก
กลืนแล้วเจ็บหรือติดที่ตำแหน่งต่าง ๆ ตั้งแต่คอจนถึงระดับลิ้นปี่
ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการกลืนอาหารแข็งได้ลำบาก และต่อมาการกลืนอาหารอ่อนๆ
เช่น กลืนข้าวต้มก็ลำบากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดแม้แต่น้ำก็จะกลืนไม่สะดวก
ดังนั้นผู้ป่วยมักจะมีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อยลงมาก |
|
|
 |
การวินิจฉัยโรค
: |
ไม่สามารถจะกระทำได้โดยการตรวจร่างกายตามธรรมดา
ต้องอาศัยการซักประวัติอาการที่น่าสงสัยดังกล่าว และเมื่อเข้าสู่ในระยะลุกลามที่มีต่อมน้ำเหลืองที่คอ
หรือ ที่ไหปลาร้าโต จึงจะสามารถตรวจพบทางร่างกาย การตรวจเพื่อการวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหารที่ง่ายและสะดวกที่สุด
คือการเอ็กซเรย์ในขณะกลืนสารทึบรังสี เพื่อแสดงให้เห็นภายในหลอดอาหาร
หรือการส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร |
|
 |
การรักษามะเร็งหลอดอาหาร
: |
ขึ้นอยู่กับระยะและตำแหน่งของโรค
-
ในระยะแรกจะใช้วิธีการผ่าตัด และอาจจะร่วมกับวิธีการรักษาด้วยรังสีรักษาและยาเคมีบำบัด
-
ในระยะลุกลามแล้วจะใช้การรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด
โดยจะช่วยให้อาการกลืนลำบากทุเลาลงได้ หรือการรักษาแบบประคับประคองโดยการให้อาหารทางสายยาง
หรือผ่าตัดให้อาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง นอกจากนี้ยังมีการใส่ท่อขยายหลอดอาหารเพื่อให้หลอดอาหารกว้างขึ้น
ทำให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
|
|
|
|
ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีอาการกลืนอาหารผิดปกติไปจากเดิมหรือกลืนอาหารลำบากนานเกินกว่า
2 สัปดาห์ |
ควรไปพบแพทย์
เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป |
|
|
|
|
|
|
|
|