ที่มา
: งานโภชนาการ
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ |
|
|
|
|
|
ข้าวบาร์เลย์
มีเส้นใยอาหารละลายน้ำได้ ช่วยลดคลอเลสเตอรอล มีธาตุเหล็ก
โพแทสเซียม สังกะสี ซีลีเนียม หุงผสมกับข้าวซ้อมมือ
และเติมลงไปในเมนูถั่วเมล็ดแห้งจะเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการได้เป็น
2 เท่า |
|
|
|
|
ถั่วเมล็ดแห้งต่าง
ๆ เป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งที่มีสารแอนติออกซิแดนท์มากที่สุดไม่แพ้ผักและผลไม้
เป็นแหล่งที่ดีเยี่ยมของวิตามินบี โฟเลท เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้วยการเติมใส่เมนูสลัด
น้ำพริกอ่อง หลน ซุป ถั่วบดผสมหมู หรือเนื้อสับ |
|
|
|
|
|
|
|
|
ถั่วเปลือกแข็ง
แม้ถั่วประเภทนี้จะมีไขมันสูงแต่ก็เป็นไขมันที่ดีกับหัวใจ
เพียงแต่ระวังอย่าปล่อยให้ถั่วเพิ่มแคลอรีมาก เกินไป นักวิจัยแนะนำให้กินถั่ววันละ
1 กำมือ เพื่อเพิ่มสมดุลของกรดไขมัน ที่ดีแก่สุขภาพ ช่วยลดความอยากอาหาร
ถั่ววอลนัท พีคาน และอัลมอนด์ ยังเป็นแหล่งสำคัญของ กรดอะมิโน
อาร์จินีน ซึ่งช่วยป้องกันหลอดเลือดแตกตัว ถั่วลิสงก็ให้ประโยชน์เช่นเดียวกัน
เติมถั่วในการปรุงอาหารไม่ว่าจะเป็น สลัด ซุป |
|
|
|
|
|
เมล็ดพืชต่าง
ๆ เมล็ดงา เมล็ดฟักทอง เมล็ดดอกทานตะวัน
ซึ่งมักรับประทานเป็นของว่าง โรยหน้าขนมปัง มีคุณสมบัติเหมือนถั่วเปลือกแข็ง
เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ โดยโรยงาใส่สลัด ผัดผักต่าง
ๆ คลุกกับข้าว หรือผสมในเนื้อสัตว์ |
|
|
|
|
เครื่องเทศสมุนไพร
ใช้เป็นสิ่งปรุงแต่งอาหาร เช่น ขมิ้น อบเชย ออริกาโน อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ช่วยป้องกันมะเร็ง อบเชยมีสารประกอบที่ช่วยเพิ่มความไวต่อฮอร์โมน
ส่วนออริกาโนนักวิจัยพบว่ามีสารแอนติออกซิแดนท์มากกว่าผักและผลไม้เสียอีก
ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้มากเพียงแค่ 1 ช้อนก็ให้ผลต่อสุขภาพเพียงพอแล้ว
เลือกใช้ทั้งในรูปสมุนไพรสดหรือแห้งก็ได้ |
|
|
|
|
|
|
|