ความรู้สำหรับประชาชน
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ควรรู้
  - ไวรัสตับอักเสบบีและซีกับมะเร็งตับ
  - มะเร็งปากมดลูกและวัคซีน
  - มะเร็งศีรษะและลำคอ
  - มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  - มะเร็งผิวหนัง
  - มะเร็งรังไข่
  - มะเร็งโพรงหลังจมูก
  - มะเร็งช่องปาก
  - มะเร็งต่อมไทรอยด์
  - มะเร็งกล่องเสียง
  - เนื้องอกสมอง
  - มะเร็งกระเพาะอาหาร
  - มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
  - มะเร็งหลอดอาหาร
  - มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  - มะเร็งต่อมลูกหมาก
  - มะเร็งตับ
  - มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  - มะเร็งเต้านม
  - มะเร็งปอด
  - มะเร็งปากมดลูก
 
ความรู้โรคมะเร็ง
 
 
มะเร็งศีรษะและลำคอ
 
     
 
วันที่ 19 เดือนมกราคม พ.ศ.2552
 
     
 
        เป็นมะเร็งที่พบมากในเพศชาย ซึ่งหากตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก การรักษาจะได้ผลดีมากเช่นเดียวกับมะเร็งอื่นๆ สาเหตุของมะเร็งศีรษะและคอยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีสาเหตุส่งเสริมหลายอย่างที่ก่อให้เกิดมะเร็งศีรษะและคอ
     
 
สาเหตุส่งเสริมให้เกิดมะเร็งศีรษะและคอมีอะไรบ้าง
1. สารกายภาพ  เช่น การระคายเคืองในที่เดิมๆ หรือเกิดการชอกช้ำในที่เดียวกันเป็นเวลานาน ก็จะก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่น
         ฟันเก ฟันคม ฟันปลอมที่ไม่ได้สัดส่วน จะครูดกับเยื่อบุในช่องปากเกิดเป็นแผลเรื้อรัง
         การดื่มสุรา การกินหมาก การดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนจัด ทำให้ระคายเคืองในช่องปากและหลอดอาหาร
         การสูบบุหรี่ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ อากาศที่มีไอระเหยของสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
         อากาศที่มีไอระเหยของโลหะหนัก/ยาง เช่น โรงงานทำรองเท้า โรงงานหลอมโลหะ ไอระเหยจะระคายเคืองต่อเยื่อบุโพรงจมูก
 
2. สารเคมี  จัดเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน เพราะว่าคนเราอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เช่น
         อาหารที่ผสมสีย้อม หรือสีวิทยาศาสตร์ที่ฉูดฉาดสดใส
         อาหาร หรือเครื่องดื่มที่ผสมขัณฑสกร สารหนู เป็นต้น
 
3. เชื้อไวรัส  มีไวรัสบางชนิดทำให้เกิดมะเร็งได้ เช่น มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
 
4. แสงแดดและรังสีต่าง ๆ
     
 
อาการของมะเร็งศีรษะและคอจะเกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ดังต่อไปนี้
         มะเร็งริมฝีปาก และช่องปาก : ผู้ป่วยมักจะมีแผลเรื้อรังในช่องปาก หรือริมฝีปาก กลืนลำบาก มีก้อน หรือต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
         มะเร็งโพรงจมูก, จมูก, ไซนัส : จะมีเลือดออกทางจมูก คัดจมูก ปวดชาบริเวณแก้มและฟัน หูตึง ปวดหู
         มะเร็งกล่องเสียง : จะมีอาการเสียงแหบ กลืนลำบาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก เจ็บหู อ่อนเพลีย ก้อนที่คอโต
         มะเร็งต่อมน้ำลาย : จะมีก้อนบริเวณหน้าหู หรือใต้คาง
         มะเร็งพื้นปาก : จะมาด้วยมีแผลเรื้อรังในปาก มีก้อน และปวดหู
         มะเร็งลิ้น : เป็นแผลเรื้อรังที่ลิ้น บวม ปวด หรือมีเลือดออก
         มะเร็งโคนลิ้น : กลืนลำบาก สำลัก ไอบ่อย มีแผล หรือก้อนที่โคนลิ้น
         มะเร็งต่อมน้ำเหลือง : จะมีก้อนที่คอโตแข็งกดไม่เจ็บ หรือมีก้อนที่ขากรรไกรโต หากก้อนใหญ่มัก จะกดเส้นประสาทหรือเส้นเลือดที่คอ ทำให้บริเวณใบหน้าและคอบวม
 
 
การป้องกันมะเร็งศีรษะและคอ
        คือ หลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น และหากสังเกตพบอาการผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป
 
กลับสู่ด้านบน
 
 
     
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th