ที่มา
:
งานโภชนาการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ |
|
|
|
|
1.
ลดความเครียด..อารมณ์เครียดจะส่งผลเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน
ของร่างกาย ทำให้ภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ ลดลงจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
จึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเครียด |
|
|
|
|
2.
นอนหลับให้เพียงพอ..การนอนไม่พอนั้นมีผลลดการ
สร้างเซลล์ในระบบภูมิต้านทาน เช่น แอนติบอดี โดยการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยชิคาโก
ในผู้ที่นอนหลับคืนละ 7 ชม. เป็นเวลา 4 วัน แล้วให้วัคซีนไข้หวัด
พบว่าคนกลุ่มนี้จะสามารถสร้างแอนติบอดี ซึ่งเป็นเซลล์ในระบบภูมิต้านทาน
ต่อเชื้อไข้หวัดได้มากกว่าผู้ที่นอนหลับคืนละ 4 ชม.
ถึง 50% |
|
|
|
3.
ดื่มน้ำเปล่ามากๆ.. อย่างน้อยวันละ 8
แก้ว น้ำจะช่วยเพิ่มสารคัดหลั่งและความชุ่มชื้นของเยื่อบุผิวในท่อทางเดินหายใจส่วนบน
ที่จะช่วยป้องกัน และดักจับฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
|
|
|
|
|
|
4.
ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเป็นประจำ.. นอกจากช่วยให้กล้ามเนื้อร่างกายแข็งแรงแล้ว
ยังช่วยขับของเสียผ่านทางเหงื่อ และเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดทำให้เซลล์ต่างๆ
ในระบบภูมิต้านทาน เช่น แอนติบอดี และเม็ดเลือดขาว
เดินทางไปทำลายสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่บริเวณอวัยวะต่างๆ
ได้เร็วขึ้น |
|
|
|
|
|
5.
รับประทานอาหารให้ครบถ้วนเพียงพอตามหลักโภชนาการ.. โดยเฉพาะอาหารเสริมภูมิต้านทาน
อย่างเช่น ผัก ผลไม้ ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี
วิตามินบี และแร่ธาตุ บางชนิด ได้แก่ ซีลีเนียม และสังกะสี
ซึ่งมีผลเพิ่มการสร้างเซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้
เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และอี ยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ
ป้องกันเซลล์ต่างๆ ของร่างกายจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระอันเป็นตัวการก่อมะเร็งได้อีกด้วย
-
เบต้าแคโรทีน มีมากในผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือส้มจัด
ผักใบเขียวจัด เช่น ผักบุ้ง ฟักทอง แครอท มะละกอ มะม่วงสุก
มะเขือเทศ
-
วิตามินซี พบในผักใบสีเขียวต่างๆ และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
เช่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง
-
วิตามินอี พบในน้ำมันพืชประเภทน้ำมันดอกทานตะวัน
น้ำมันรำข้าว งา ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่างๆ ข้าวกล้อง
จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว |
|
-
วิตามินบี พบในผักใบเขียว นม เนื้อสัตว์ ถั่วต่าง
ๆ ตับ ไข่ และธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ
-
ซีลีเนียม พบในอาหารทะเล ตับ ไต เนื้อสัตว์ กระเทียม
ไข่ และธัญพืช
-
สังกะสี พบในเนื้อวัว นม และถั่วต่าง ๆ
-
กระเทียม เป็นเครื่องเทศที่มีฤทธิ์เสริมภูมิต้านทาน
โดยสารอัลลิซิน (allicin) และซัลไฟด์ (sulfides) ในกระเทียมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน
มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เป็นสารต้านอนุมูลอิสระด้วย
-
กรดโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดขาว
และแอนติบอดี พบมากในปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล
ซาร์ดีน และธัญพืชบางชนิด เช่น ถั่ววอลนัท เมล็ดปอ รวมทั้งพืชผักใบเขียว
-
โยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์และโตแบคทีเรีย (kactibacterua)
เช่น แลคโตบาซิลัส แอซิโดฟิลัส (lactobacillus adidophilus)
ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยจะยับยั้งการเกิดจุลินทรีย์ตัวร้ายในระบบย่อยอาหาร
เช่น แบคทีเรีย รา หรือยีสต์ รวมทั้งยังกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวและแอนติบอดีให้กำจัดเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
|
|
6.
หลีกเลี่ยงอาหารหรือพฤติกรรมที่ส่งผลให้ภูมิต้านทานอ่อนแอลง
เช่น เลี่ยงการกินอาหารหวานจัด ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เกินวันละ
2 แก้ว ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป |
|
ด้วยวิธีง่าย
ๆ ใกล้ตัวเราเหล่านี้ก็จะสามารถคงไว้ซึ่งสุขภาพที่แข็งแรง
ปราศจากโรคร้ายต่างๆ และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขไปนานๆ
|
|
|
|
|
|
|