ที่มา
: งานโภชนาการ
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ |
|
|
|
|
|
|
|
ผัก
ผลไม้ จะเป็นแหล่งธรรมชาติสำคัญของสาร 2 กลุ่มใหญ่ |
|
|
|
1.
สารอาหาร (Nutrients) คือ แป้งคาร์โบไฮเดรต
โปรตีน ไขมัน ไวตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร (Dietary
Fiber) |
2.
สารพืชผัก (Phytochemicals / Phytonutrients) ไม่ถูกกำหนดให้เป็นสารอาหาร
แต่สารพืชผักเป็นสารจำเป็นต่อโภชนาการและสุขภาพมาก มีไม่ต่ำกว่า
10 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มมีจำนวนมากชนิด ซึ่งสารทั้ง 2 กลุ่มใหญ่นี้ต่างก็มีบทบาทมากในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคต่าง
ๆ ดังนี้ |
|
|
|
สารอาหาร
(Nutrients) |
|
1.
คาร์โบไฮเดรต แป้ง น้ำตาล พบในแทบทุกส่วนของพืช
ได้แก่ ราก ลำต้น เมล็ด และผล สารอาหารกลุ่มนี้ให้พลังงาน
ให้พละกำลัง ความแข็งแรง และเกิดความอบอุ่นแก่ร่างกาย
|
|
2.
โปรตีน เป็นส่วนประกอบทั่วไปของพืช แต่ผักใบทั่วไปมีโปรตีนปริมาณน้อยไม่เพียงพอ
ในส่วนเมล็ดของพืช ถั่วนานาชนิด เห็ดและผลิตภัณฑ์ เช่น
เต้าหู้ นมถั่วเหลือง เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี มีทั้งกรดอะมิโนชนิดจำเป็น
และไม่จำเป็น มีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างเซลล์เนื้อเยื่อ
อวัยวะ เอนไซม์ สารฮอร์โมน สารในระบบภูมิคุ้มกัน ฯลฯ |
|
|
3.
ไขมันหรือน้ำมัน พบมากในส่วนของเมล็ด ส่วนใหญ่เป็นไขมันไม่อิ่มตัว
และเป็นกรดไขมันจำเป็น มีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างเซลล์
ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์
|
|
4.
ไวตามินและโปรไวตามินในพืชผัก ผลไม้ อุดมไปด้วยไวตามินแทบทุกชนิด
ทั้งละลายในน้ำและละลายในไขมัน สารอาหารกลุ่มนี้จำเป็นมากต่อปฏิกิริยาชีวเคมีในเมแทบอลิสท์
ทำให้เซลล์สามารถทำงานตามหน้าที่ได้อย่างปกติ หากร่างกายขาดชนิดใดชนิดหนึ่งนาน
ๆ จะมีอาการป่วยเกิดขึ้นอย่างชัดเจน |
|
|
5.
แร่ธาตุต่าง ๆ ทั้งแร่ธาตุหลัก (Major Elements)
และแร่ธาตุที่มีเล็กน้อย (Trance Elements) พบในทุกส่วนของพืช
แร่ธาตุส่วนใหญ่ ได้แก่ โปตัสเซียม โซเดียม ฟอสเฟต กำมะถัน
เป็นองค์ประกอบสำคัญ เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
ช่วยในการหด-คลายกล้ามเนื้อ รักษาสภาวะกรด-ด่างของร่างกาย |
|
|
|
|
|
|