การดูแลตนเองเมื่อใส่สายสวนปัสสาวะ
 
 
 

การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างความวิตกกังวลให้แก่ผู้ป่วย บางรายภายหลังใส่สายสวนปัสสาวะแล้ว จะไม่กล้าขยับร่างกายด้วยความกลัวว่าจะสร้างความเจ็บปวด หรือกลัวการหลุดเลื่อนของสาย  บางรายดึงสายปัสสาวะออกเอง โดยเหตุจากความไม่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ ในการใส่คาสายปัสสาวะ การสร้างความเข้าใจและความรู้ในการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม จะช่วยให้การ   คาสายสวนปัสสาวะมีประโยชน์และปลอดภัยยิ่งขึ้น 


               ข้อบ่งชี้ในการใส่สายสวนปัสสาวะ

• ปัสสาวะลำบากหลังผ่าตัด เนื่องจากมีกระทบกระเทือนบริเวณที่มีการผ่าตัดเช่นบริเวณอุ้งเชิงกราน  หรือ เนื่องจากฤทธิ์ของยาสลบ และ/หรือ ความวิตกกังวลทางจิตใจจะไปยับยั้งการคลายตัวของหูรูดกระเพาะปัสสาวะ
• ปัสสาวะไม่ออกเนื่องจากมีการปิดกั้นทางระบายปัสสาวะเช่น ต่อมลูกหมากโตในชายสูงอายุ หรือ ระบบประสาทควบคุมสูญเสีย เช่นการเป็นอัมพาต
• ปัสสาวะไม่ออก กระสับกระส่าย บริเวณหัวเหน่าโป่ง สามารถคลำได้ บางรายอาจมีปัสสาวะกระปริดกระปรอยและมีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะตลอดเวลา
• ในรายที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มักจะมีอาการปัสสาวะไหลหยดตลอดเวลา ซึ่งผู้ที่เป็นจะไม่มีอาการปวดปัสสาวะและบางรายพบว่าบริเวณหัวเหน่าโป่ง 


               วัตถุประสงค์ของการใส่สายสวนปัสสาวะ

• เพื่อระบายปัสสาวะ ในรายที่มีปัสสาวะคั่ง ไม่สามารถปัสสาวะออกมาได้ด้วยตนเอง หรือ ปัสสาวะไม่ได้เนื่องจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่ทำหน้าที่ตามปกติ
• เพื่อการผ่าตัด เป็นการช่วยเหลือลดอาการเจ็บปวดจากการผ่าตัด
• เพื่อการรักษา เช่นเลือดออกในระบบปัสสาวะ หรือ มีการอุดตันเฉียบพลัน 


               ประเภทการใส่สายสวนปัสสาวะ

• ใส่สายปัสสาวะสวนคาชั่วคราว เมื่อปัญหาทางเดินปัสสาวะได้รับการแก้ไขแล้วสามารถเอาออกได้
• ใส่สายปัสสาวะสวนคาตลอดชีพ เช่น เป็นอัมพาต
ใส่สายปัสสาวะสวนคา เฉพาะในเวลา ต้องการระบายปัสสาวะออก ผู้ที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องได้รับการสอนอย่างถูกต้อง เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง 


                การดูแลตนเองเมื่อใส่สายสวนปัสสาวะ

1. การยึดสายสวนปัสสาวะด้วยปลาสเตอร์ จะช่วย ป้องกันไม่ให้สายสวนแกว่งไปมา และลดการระคายเคืองต่อทางเดินปัสสาวะ เป็นการป้องกันสายปัสสาวะกดภายใน ที่จะเป็นสาเหตุเกิดการอักเสบทะลุได้ภายหลัง     โดยปฏิบัติดังนี้
ผู้หญิง ให้ยึดสายสวนปัสสาวะไว้ที่หน้าขา หรือ โคนขาด้านใน ผู้ชาย ให้ยึดสายสวนปัสสาวะไว้บริเวณท้องน้อย หรือ โคนขาด้านนอก  
2.  ถุงรองรับปัสสาวะ จะต้องให้อยู่ในระดับต่ำกว่าเอว เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำปัสสาวะไหลย้อนกลับเข้าไปใน หลังจากคาสายสวนไว้ยังสามารถเคลื่อนไหว ทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ

ข้อมูล :
          หน่วยบริการเตรียมผู้ป่วยก่อนรับไว้ในโรงพยาบาล
                     PRE ADMISSION  Unit
                     ฝ่ายการพยาบาล รพ.จุฬาลงกรณ์

 
   
 
ที่มา : สภากาชาดไทย
ข่าวประจำวันที่ : 30 ตุลาคม 2549
จำนวนผู้อ่าน : 53740 คน  
   
   
   
Untitled Document

   
      Best view 1024 x 768 pixel for Internet Explorer © หน่วยสารสนเทศมะเร็ง  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 0-7445-1595 โทรสาร 0-7445-1595 
ติชมได้ที่นี่ : pparadee@medicine.psu.ac.th