แพทย์เฉพาะทาง
ศัลยแพทย์ตกแต่ง
(Plastic surgeon)
มีบทบาทในการเริ่มต้นและเป็นผู้นำในการรักษาของทีมงาน
รวมถึงการวางแผนการรักษาโดยการผ่าตัดเย็บริมฝีปาก
และเพดานปาก (Cheiloplasty
and Palatoplasty)
การทำศัลยกรรมแก้ไขตกแต่งความพิการทุติยภูมิของริมฝีปากและรูปร่างจมูก
(Secondary Lip-Nose-Palate
Revision)
กุมารแพทย์
(Pediatrician)
มีบทบาทในการดูแลความพิการร่วมแต่กำเนิด การดูแลภาวะแรกคลอด เช่น
การหายใจ การดูแล การให้นม และภาวะโภชนาการ รวมถึงสุขภาพทั่วไป ตลอดจนการรับและฉีดวัคซีนต่างๆ ประเมินระดับ
พัฒนาการและการเจริญเติบโตของผู้ป่วย
ทันตแพทย์จัดฟัน (Orthodontist)
จะมีบทบาทในการทำเพดานเทียม
และเป็นผู้จัดควบคุมรูปแบบของสันเหงือกก่อนการเย็บริมฝีปาก
(Presurgical orthopedic
treatment)
ทำบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างละเอียด เตรียมสภาพ
ช่องปากก่อน
การทำศัลยกรรมปลูกถ่ายกระดูกที่ร่องเหงือก (Orthodontic
Preparation for Bone Grafting)
หรือก่อนทำศัลยกรรมตกแต่งขากรรไกร (Presurgical
Orthodontic Treatment for Orthognathic Surgery)
ทันตแพทย์ศัลยศาสตร์ช่องปาก
และแมกซิโลเฟเชียล
(Oral Maxillofacial)
จะทำการปลูกถ่ายกระดูกที่ร่องเหงือก(Alveolar
Bone Grafting)และการผ่าตัดตกแต่งกระดูก ขากรรไกร
(Orthognathic Surgery)
นักอรรถบำบัด (Speech-Language Pathologist)
ทำการประเมินทักษะการสื่อสารได้แก่
การพูด ภาษา เสียงพูด ความคล่อง และการให้อรรถบำบัด บางครั้งจำเป็นต้องใช้ผลจาการใช้เครื่องมือในการประเมินการทำงานของ Velopharyngeal
valve ซึ่งได้แก่
Nasoendoscopy, Video Fluoroscopy, Pressure flow
เป็นต้น ใช้ประเมินภาวะ
Velopharyngeal valve incompetence
ในผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่
ที่ได้รับการผ่าตัดรักษาแล้วยังพูดไม่ชัด
หรืออยู่ในระดับที่ยังไม่เป็นที่พอใจ
เพื่อจะได้เลือกวิธีผ่าตัดรักษาที่ถูกต้องต่อไป
โสต ศอ นาสิก แพทย์ (ENT, Audiologist
และ Otologist)
ทำการประเมินระดับการได้ยินการตรวจสุขภาพหูอย่างสม่ำเสมอ
การให้การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโดยโสต ศอ นาสิกแพทย์นี้ มีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่
คือ ผู้ป่วยเหล่านี้มักสำลักอาหาร
น้ำ มากกว่าบุคคลทั่วไป รูเปิดของท่อ
Eustachian
ไม่ทำงาน ทำให้มีน้ำคั่งในหูชั้นกลาง (Aurous
otitis media)
และแก้วหูทะลุได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อเรื้อรังในหูชั้นกลางได้
(Chronic otitis media)
มีโอกาสสูญเสียการได้ยินหากไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที
การตรวจสุขภาพหูอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นรุนแรงจนถึงระดับ การสูญเสียการได้ยินได้ โดยทั่วไป เด็กทุกคนควรได้รับการประเมินความไวของการได้ยิน (Hearing
Sensitivity) ก่อนอายุ 1
ปี
และควรได้รับการติดตามการได้ยินอย่างต่อเนื่องจนเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งจะขึ้นกับประวัติการตรวจพบของเด็ก
นอกจากนั้นควรมีการตรวจติดตามการทำงานของหูชั้นกลาง จนถึงอายุ
6 ขวบ
พยาบาล (Nurse)
จะมีทั้งพยาบาลห้อง
OPD
และพยาบาลห้องคลอด ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในทีม
เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยและบิดามารดา
พยาบาลจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา
คำแนะนำเรื่องปากแหว่งเพดานโหว่ แก่ผู้ปกครองและผู้ป่วย
เช่น
การดูแลหลังคลอด การให้คำแนะนำเรื่องการให้นม/อาหาร
การกระตุ้นการพัฒนาการด้านต่างๆ
ตลอดจนการดูแล
แนะนำผู้ป่วยและบิดามารดาในขณะอยู่โรงพยาบาล การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดหลังผ่าตัด
ขั้นตอนในการรักษาพยาบาลในช่วงเวลาต่างๆ
รวมถึงการติดตามประเมินผล
การให้ข้อมูลด้านการรักษาแก่ผู้ป่วย
นอกจากหน้าที่ที่กล่าวแล้ว
พยาบาลอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานของทีมสหวิทยาการ
(Team Coordinator)
นักจิตวิทยา
(Psychologist)
มีบทบาทในการตรวจหา
หรือทดสอบความผิดปกติด้านการเรียนรู้
และการพัฒนาทักษะต่าง
ๆ แนะนำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมที่จะช่วยปรับปรุงพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้
ตลอดจนคำแนะนำในการประกอบอาชีพ
และดำรงชีวิตในสังคม
นักสังคมสงเคราะห์ (Clinical Social Worker)
ทางด้านบทบาทของสังคมสงเคราะห์นั้น
จะมีการให้การช่วยเหลือทางด้านค่ารักษาจากกองทุน
|