ศูนย์ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ ม.สงขลานครินทร์
หน้าแรก ติดต่อ

แผนที่ทางกลยุทธ์


แผนที่ทางกลยุทธ์การดำเนินงาน
ของศูนย์ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการแต่กำเนิดบริเวณศีรษะ ใบหน้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มุมมองด้านการเงินและคุณค่าของสถาบัน/หน่วยงาน

  • การเงิน
    - รายรับจากค่ารักษาพยาบาล, เงินบริจาค

    -  รายจ่าย

  • กองทุน
    -  มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    -  กองทุนศูนย์ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการ
    แต่กำเนิดบริเวณศีรษะ ใบหน้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    -  The Smile Train Treatment Grant
    การสร้างคุณค่าให้ศูนย์ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการแต่กำเนิดบริเวณศีรษะ ใบหน้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • พันธกิจ
    -  เป็นสถาบันที่ดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ แบบสหวิทยาการ ในระดับชั้นนำของประเทศ และภูมิภาค

  • เป้าหมาย
      
    1. เป็นแหล่งความรู้และสร้างองค์ความรู้ เพื่อศึกษาการทำงานให้บริการผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่อย่างเป็นสหวิทยาการ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานสำหรับ แพทย์ ทันตแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
       2. ให้บริการผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ อย่างมีคุณภาพทุกระดับ จนถึงขั้นตติยภูมิ
       3. สร้างและส่งเสริมงานวิจัยที่มีคุณภาพ จนเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ
      
    4. เป็นผู้นำระบบคุณภาพ มีความเป็นเลิศทางวิชาการและการรักษาพยาบาล  เป็น Excellent Center
       5. ชี้นำสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ มารับการดูแลรักษาอย่างเป็น
     สหวิทยาการ

กลยุทธ์ในการเพิ่มผลงาน   -  กลยุทธ์ในการพัฒนาการเจริญเติบโตของสถาบัน

มุมมองด้านผู้ป่วย/สังคม

  -  ผู้ป่วยและญาติได้รับการดูแลจากทีมสหวิทยาการ เพื่อการรักษาที่ครบถ้วนและติดตามผลการรักษาเป็นเวลานาน
  -  บิดามารดา ครอบครัวผู้ป่วย ตลอดจนประชาชนได้รับความรู้เรื่องโรค การดูแลรักษาผู้ป่วย ให้ความสำคัญว่า ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษา
  -  ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ
  -  ค่ารักษาที่เหมาะสม รวมถึงการช่วยเหลือจากกองทุนศูนย์ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการแต่กำเนิดบริเวณศีรษะ ใบหน้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  -  ภาพลักษณ์ที่ดีในสังคม

มุมมองด้านกระบวนการภายใน

  • สร้างความเป็นเลิศในวิชาชีพ
    -  มีคลินิกผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่
    -  ดูแลรักษาผู้ป่วยแบบสห วิทยาการ ติดตามอย่างสม่ำเสมอจนโตเป็นหนุ่มเป็นสาว
    -  ลงทะเบียนผู้ป่วย
    -  จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยและนำมาใช้ประโยชน์ในด้าน
    -  การเรียนการสอน
    -  พัฒนาการบริการ
    -  การทำวิจัย
    -  รักษาผู้ป่วยจนถึงขั้นตติยภูมิ
    -  สร้าง
    care map, CPG
    -  สุ่มตรวจเวชระเบียนผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

  • สร้างคุณค่าจากผู้ป่วย/ญาติ
    ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากทีมสหวิทยาการ
    -  ลงทะเบียนผู้ป่วย และติดตามการรักษาสม่ำเสมอเป็นเวลานานจนเป็นหนุ่มเป็นสาว
    -  ติดตามผู้ป่วยให้มารับการตรวจรักษา
    -  สนับสนุนค่าเดินทางและเงินยังชีพ ขณะมารับการตรวจที่ศูนย์ฯ แก่ผู้ยากไร้
    ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยยากไร้

  • นวัตกรรม
    -  จัดการประชุมประจำปีของศูนย์ฯ
    -  จัดหัวข้อเสวนาสำหรับทีมงานทุกเดือน
    -  สร้างเครือข่ายกับ สาธารณสุขจังหวัดสงขลา โรงพยาบาลศูนย์ 
    โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน ในการสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่อย่างเป็นสหวิทยาการและขยายเครือข่ายไปจังหวัดรอบข้าง
    -  สร้างเครือข่ายกับโครงการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ พิการแต่กำเนิดบริเวณศีรษะ ใบหน้าแบบสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, The Smile Train, โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

  • เกณฑ์ข้อกำหนด + สังคม
    -  การทำรายงานประจำปีของศูนย์ฯ
    -  การประกันคุณภาพโดยใช้
    QA, CQI, HA, TQ
    -  การทำ  Utilization Review
    -  การทำ Knowledge Management
    -  การประชาสัมพันธ์
    -  การหาเงินทุน

มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา

  • บุคลากร
    (แพทย์, ทันตแพทย์, นักอรรถบำบัด, โสตสัมผัส, นักสังคมสงเคราะห์, พยาบาลและเลขานุการ)
    -  มีประสบการณ์ สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมสหวิทยาการ
    ทำงานอย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
    -  มีการเรียนรู้ และการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้กับงานประจำ
    -  สร้างคุณค่าให้สมาชิกเห็นความสำคัญของงานแต่ละสาขาอย่างเท่าเทียมกัน
    -  สามารถเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้และสร้างทีมงานทดแทนได้

  • ระบบข้อมูล
    -  มีระบบข้อมูล
    (Access)
    -  มีการลงทะเบียนผู้ป่วย
    -  มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์
    -  นำข้อมูลไปใช้ในการทำวิจัย นำเสนอในการประชุม   ทำรายงานประจำปี รายงานต่อแหล่งทุน  ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ และการขอทุนสนับสนุนเพิ่มเติม ตลอดจนติดตามผู้ป่วยเพื่อมารับการดูแลรักษาต่อเนื่อง ที่คลินิกผู้ป่วย  ปากแหว่ง เพดานโหว่
    -  ทำ website ของศูนย์ฯ

  • องค์กร
    -  สร้างวัฒนธรรมองค์กร เน้นความสำคัญของงานแต่ละสาขาอย่างเท่าเทียมกัน ให้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมสหวิทยาการ
    -  สร้างความเป็นผู้นำในแต่ละบทบาท
    ของตน
    -  ปรับทิศทางให้สมาชิกมีแนวคิด  แนวทางในการรักษาผู้ป่วยไปในทิศทางเดียวกัน สนับสนุน ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
    -  เป็นทีมงานแห่งการเรียนรู้
    -  มีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผลโดยมีผู้ประสานงานที่ดี
    (Cases manager, coordinator)
    -  สมาชิกในทีมงาน มีความพึงพอใจ และมีความสุขในการทำงาน