Untitled Document

คู่มือมอก. 18000    ฉบับคณะแพทยศาสตร์    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

TIS 18000 Faculty of Medicine    Prince of Songkla

Untitled Document

คลิ๊กปุ่ม   ที่มุมซ้ายสุดเพื่อย้อนกลับหน้าที่แล้ว

คลิ๊กตรงนี้กลับหน้าหลักคู่มือมอก.
ขั้นตอน 1: ทบทวนสถานะเบื้องต้น กำหนดนโยบาย วางแผน
1.1 แต่งตั้ง OHSMR /คณะทำงาน
1.2 ทบทวนสถานะ
1.3 ประเมินความเสี่ยง
1.4 กำหนดนโยบาย
1.5 เตรียมการจัดการอาชีว อนามัยและความปลอดภัย
ขั้นตอน 2: นำไปใช้/ ปฏิบัติ
2.1 เอกสารและระบบควบคุม เอกสาร
2.2 กฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ
2.3 โครงสร้างและความรับผิดชอบ
2.4 ฝึกอบรม สร้างจิตสำนึก ความรู้ ความสามารถ
2.5 สื่อสาร
2.6 จัดซื้อ
2.7 จัดจ้าง
2.8 ควบคุมการปฏิบัติ
2.9 เตรียมความพร้อมสำหรับ ภาวะฉุกเฉิน
2.10 เตือนอันตราย
2.11 จัดทำและเก็บบันทึก
ขั้นตอน 3: ตรวจสอบ แก้ไข ทบทวน การจัดการ
3.1 ติดตาม ตรวจสอบ วัดผลปฏิบัติ
3.2 ตรวจประเมิน
3.3 แก้ไข/ ป้องกัน
3.4 ทบทวนการจัดการ
 
 


 

ขั้นตอน 1.4 การกำหนดนโยบาย

ตามข้อกำหนด 4.3 นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

        ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบายโดยจัดทำเป็นเอกสารพร้อมทั้งลงนาม  เพื่อแสดงเจตจำนงในการจัดการอชป.  นโยบายดังกล่าวต้อง

  • เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
  • หมาะสมกับลักษณะและความเสี่ยงขององค์กร
  • แสดงเจตจำนงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่องค์กรได้ทำข้อตกลงไว้
  • แสดงเจตจำนงที่จะปรับปรุงและป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
  • แสดงเจตจำนงที่จะจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอเหมาะสมในการดำเนินการตามระบบการจัดการอชป.

       นอกจากนี้ต้องให้ลูกจ้างได้ทราบและเข้าใจจุดมุ่งหมายของนโยบาย  โดยการเผยแพร่และเปิดโอกาสให้ลูกจ้างมีส่วนร่วม ในการให้ข้อคิดเห็นและปฏิบัติตามนโยบาย  รวมทั้งมีการทบทวนเป็นระยะๆเพื่อให้แน่ใจว่านโยบายที่กำหนดขึ้นยังมีความเหมาะสมกับองค์กร


คลิ๊กเพื่อเลือก

คุณสมบัตินโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วัตถุประสงค
กิจกรรม
ประกาศคณะแพทยศาสตร์ มอ.


    14_43a

คุณสมบัติของนโยบายอชป.

  • ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
  • ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้
  • ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ
  • เป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยผู้บริหารสูงสุดขององค์กร  เพื่อให้ทุกส่วนขององค์กรปฏิบัติ
  • ผู้เกี่ยวข้องหรือสาธารณชนตรวจสอบได้

14_43b


วัตถุประสงค์
        เพื่อให้องค์กรมีแนวทางพิจารณานำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากกิจกรรมการทบทวนสถานะเริ่มต้น การทบทวนกฎหมาย การตรวจสอบพื้นที่ มาเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบาย

14_43c


กิจกรรม
1. ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขององค์กรเพื่อร่วมกันพิจารณาปรับปรุงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของคณะแพทยศาสตร์ มอ. โดยพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 

  • ลักษณะองค์กร  ขนาดขององค์กร  ลักษณะกิจกรรมขอบเขตและการบริหาร 
  • ผลจากการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
  • ข้อกฎหมายต่าง ๆ และ/หรือมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • นโยบายหลักด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • นโยบายด้านอื่น ๆ  เช่น นโยบายคุณภาพ  นโยบายสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะต้องสอดคล้องกันด้วยและอาจจะรวมนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และ/หรือคุณภาพเข้าด้วยกัน
  • การทบทวนสถานะเริ่มต้น
  • ผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ

2.  คณะกรรมการ มอก.18000 นำร่างนโยบายติดประกาศ ประชาสัมพันธ์  และชี้แจงในหน่วยงานต่างๆเพื่อให้ทุกคนเซ็นต์รับทราบ แสดงความคิดเห็น  แล้วส่งข้อมูลให้การเจ้าหน้าที่รวบรวมเสนอคณะกรรมการมอก.ต่อไป

3.  คณะกรรมการ มอก.18000 พิจารณาความคิดเห็นของพนักงานต่อร่างนโยบายฯ และแก้ไขปรับปรุง หรือคงไว้  โดยคำนึงถึงข้อกำหนดตามมาตรฐานมอก.18000  งบประมาณที่มีอยู่ และความต้องการของพนักงาน นำเสนอนโยบายให้ผู้บริหารสูงสุดลงนาม

4. คณะกรรมการประกาศนโยบาย สิ่งที่สำคัญยิ่งคือ การทำให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบและเข้าใจถึงนโยบายดังกล่าว อย่างทั่วถึงโดยกำหนดวิธีประชาสัมพันธ์ได้แก่ website อาชีวอนามัยและความปลอดภัย หนังสือลงนามแจ้งหน่วยงานทั้ง 120+ หน่วยงาน  ผู้บริหารระดับสูงชี้แจงในการประชุมที่เกี่ยวข้องติดประกาศที่บอร์ด

 


14_43d

ประกาศ คณะแพทยศาสตร์

เรื่องวิสัยทัศน์  พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์
ในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

………………………………………

วิสัยทัศน์

คณะแพทยศาสตร์ชั้นเลิศด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระดับประเทศ

 

พันธกิจ

บุคลากรและผู้ปฏิบัติงานภายในคณะแพทศาสตร์ทุกคนมีความปลอดภัยสูงสุดในการทำงาน


นโยบาย

     คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีความใส่ใจในสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากร ทุกท่านโดยงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจะสมบูรณ์ได้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือจากบุคลากรทุกท่าน  จึงได้กำหนดนโยบายไว้ดังนี้

  • สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบอันดับแรกในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคน
  • บุคลากรทุกคนต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของตนเองและเพื่อนร่วมงานเป็นสำคัญตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน
  • ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องกระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
  • คณะแพทยศาสตร์จะสนับสนุนส่งเสริมให้มีกิจกรรมด้านอาชีวอนามัย เช่น การประเมินความเสี่ยงการเฝ้าระวังโรคจาก การทำงาน การอบรม ประชาสัมพันธ์ การตรวจสุขภาพพนักงาน การจัดสัปดาห์ความปลอดภัย เป็นต้น
  • คณะแพทยศาสตร์ จะจัดให้มีการประเมินผลตามนโยบายที่ประกาศไว้ข้างต้น และจัดทำเป็นระบบข้อมูลด้านอาชีว อนามัยและความปลอดภัย

         คณะแพทยศาสตร์มุ่งหวังให้มีการพัฒนางานอาชีวอนามัยอย่างต่อเนื่อง และทำนุบำรุงรักษาระบบอาชีวอนามัยไว้อย่าง ยั่งยืน โดยปฏิบัติงานอาชีวอนามัยให้เป็นไป ตามกฎหมายข้อกำหนดอื่นๆ และสอดคล้องกับการจัดการประกันคุณภาพ งานทั้งหมด  เพื่อให้คณะแพทย์ ม.สงขลานครินทร์ มีความเป็นเลิศด้านงานอาชีวอนามัยและบุคลากรทุกคนในคณะแพทยศาสตร์มีสุขภาพแข็งแรงและสมบูรณทั้งร่างกายและจิตใจ


กลยุทธ์

สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจาก
ระดับผู้บริหารส่วนสูงสุดถึงบุคลากรทุกคน

ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ  ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2552

 

รศ.นพ.สุเมธ พีรวุฒิ
รศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์
คณบดีคณะแพทย์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

***************************************

เอกสาร

ประกาศ คณะแพทยศาสตร์เรื่อง วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์ ในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Untitled Document
ถ้าคุณมีข้อเสนอแนะ/ ปัญหาในการใช้คู่มือจัดทำระบบมอก.18000 กรุณาติดต่อหน่วยอาชีวอนามัย โทร. 1167, 1548