Untitled Document

คู่มือมอก. 18000    ฉบับคณะแพทยศาสตร์    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

TIS 18000 Faculty of Medicine    Prince of Songkla

Untitled Document

คลิ๊กปุ่ม   ที่มุมซ้ายสุดเพื่อย้อนกลับหน้าที่แล้ว

คลิ๊กตรงนี้กลับหน้าหลักคู่มือมอก.
ขั้นตอน 1: ทบทวนสถานะเบื้องต้น กำหนดนโยบาย วางแผน
1.1 แต่งตั้ง OHSMR /คณะทำงาน
1.2 ทบทวนสถานะ
1.3 ประเมินความเสี่ยง
1.4 กำหนดนโยบาย
1.5 เตรียมการจัดการอาชีว อนามัยและความปลอดภัย
ขั้นตอน 2: นำไปใช้/ ปฏิบัติ
2.1 เอกสารและระบบควบคุม เอกสาร
2.2 กฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ
2.3 โครงสร้างและความรับผิดชอบ
2.4 ฝึกอบรม สร้างจิตสำนึก ความรู้ ความสามารถ
2.5 สื่อสาร
2.6 จัดซื้อ
2.7 จัดจ้าง
2.8 ควบคุมการปฏิบัติ
2.9 เตรียมความพร้อมสำหรับ ภาวะฉุกเฉิน
2.10 เตือนอันตราย
2.11 จัดทำและเก็บบันทึก
ขั้นตอน 3: ตรวจสอบ แก้ไข ทบทวน การจัดการ
3.1 ติดตาม ตรวจสอบ วัดผลปฏิบัติ
3.2 ตรวจประเมิน
3.3 แก้ไข/ ป้องกัน
3.4 ทบทวนการจัดการ
 
 


 

ขั้นตอน 2.3 โครงสร้างและความรับผิดชอบ

ตามข้อกำหนด 4.5.1 โครงสร้างและความรับผิดชอบ

4.5.1.1  องค์กรต้องกำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของลูกจ้างทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการในด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย รวมทั้งจัดทำเป็นเอกสารและเผยแพร่ให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง ภายในองค์กรทราบ

ลูกจ้างที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม

4.5.1.3 ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้นำในการแสดงความรับผิดชอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และดูแลให้มีการปรับปรุงระบบการ จัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อมอบหมายุอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบให้สอดคล้องกับความสัมพันธ์ภายในองค์กร
2. เพื่อระบุภาระหน้าที่ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้สอดคล้องกับ
โครงสร้างบริหาร และสายบังคับบัญชา

กิจกรรม

1. กำหนดโครงสร้างการบริหารงานอชป.ที่แสดงภาพรวมของสายบังคับบัญชา อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจนความสัมพันธ์ภายในองค์กร

         โครงสร้างผังบริหารสายบังคับบัญชา
          @ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ และ
          @ โรงพยาบาลสงขลานครินทร

2. กำหนดภาระหน้าที่ (job description) ของพนักงานระดับต่างๆด้านอชป.ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพนักงานทั่วไป และเผยแพร่ให้บุคคลที่เกี่ยว ข้องภายใน องค์กรทราบดังนี้

2.1 คณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

คณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มีภาระหน้าที่ (job description) ดังต่อไปนี้

  • สำรวจด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3 เดือนครั้ง
  • รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรภายในและภายนอกที่เข้ามาใช้บริการในคณะแพทยศาสตร์
  • ส่งเสริม สนับสนุนด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • จัดทำโครงการ หรือกิจกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยและโรค จากการทำงาน
  • กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรทุกระดับ
  • ติดตามผลความคืบหน้ารายงานต่อผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์
  • เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรทุกระดับในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
  • รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ต่อผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์

2.2 ผู้แทนฝ่ายบริหารด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational health and safety management representative- OH&SMR)

OHSMR มีหน้าที่มีภาระหน้าที่ (job description) ดังต่อไปนี้ี้

  • เสนอระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยรวมทั้งกระตุ้นให้มีการดำเนินการและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานมอก. 18000
  • ติดตามและสรุปผลการดำเนินการระบบจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมอก. 18000 เสนอคณะกรรมการ มอก. 18000
  • กำกับและติดตามเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    มอก. 18000

2.3 หัวหน้างาน

หัวหน้างานมีภาระหน้าที่ (job description) ดังต่อไปนี้

  • กำกับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
  • สอนวิธีการปฏิบัติงานให้ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงาน
  • ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญของลูกจ้างร่วมกับคณะกรรมการ อาชีวอนามัยฯ และรายงานพร้อมข้อเสนอแนะ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในหน่วยงาน
  • ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่คณะกรรมการอาชีวอนามัยฯ มอบหมาย
  • เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พนักงานในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในหน่วยงาน

2.4 บุคลากรระดับวิชาชีพ

บุคลากรระดับวิชาชีพมีภาระหน้าที่ (job description) ดังต่อไปนี้

  • บุคลากรระดับวิชาชีพต้องทำงานด้วยความสำนึกถึงความปลอดภัยอยู่เสมอทั้งของตนเองและผู้อื่น
  • บุคลากรระดับวิชาชีพต้องรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและอุปกรณ์ป้องกันที่ชำรุดเสียหายต่อเจ้าของพื้นที่ทันที
  • บุคลากรระดับวิชาชีพต้องเอาใจใส่ ให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในการทำงานอย่างปลอดภัยอยู่เสมอ
  • เมื่อมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เสนอต่อเจ้าของพื้นที่ทันที
  • เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรทุกระดับในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

2.5 พนักงานระดับปฏิบัติการ

พนักงานระดับปฏิบัติการมีภาระหน้าที่ (job description) ดังต่อไปนี้

  • พนักงานทุกคนต้องทำงานด้วยความสำนึกถึงความปลอดภัยอยู่เสมอทั้งของตนเองและผู้อื่น
  • พนักงานทุกคนต้องรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและอุปกรณ์ป้องกันที่ชำรุดเสียหายต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้อง
  • ต้องเอาใจใส่ ให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในการทำงานอย่างปลอดภัยอยู่เสมอ
  • เมื่อพนักงานมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยให้เสนอผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้อง
  • พนักงานทุกคนต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่จัดให้ และแต่งกายให้เหมาะสมกับงานตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน
  • พนักงานทุกคนต้องไม่ปฏิบัติงานที่ไม่เข้าใจและก่อให้เกิดอันตราย หรือไม่แน่ใจว่าทำอย่างไรจึงปลอดภัย
  • ต้องศึกษางานที่ปฏิบัติว่าอาจเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายใดที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น

Untitled Document
ถ้าคุณมีข้อเสนอแนะ/ ปัญหาในการใช้คู่มือจัดทำระบบมอก.18000 กรุณาติดต่อหน่วยอาชีวอนามัย โทร. 1167, 1548