Untitled Document

คู่มือมอก. 18000    ฉบับคณะแพทยศาสตร์    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

TIS 18000 Faculty of Medicine    Prince of Songkla

Untitled Document

คลิ๊กปุ่ม   ที่มุมซ้ายสุดเพื่อย้อนกลับหน้าที่แล้ว

คลิ๊กตรงนี้กลับหน้าหลักคู่มือมอก.
ขั้นตอน 1: ทบทวนสถานะเบื้องต้น กำหนดนโยบาย วางแผน
1.1 แต่งตั้ง OHSMR /คณะทำงาน
1.2 ทบทวนสถานะ
1.3 ประเมินความเสี่ยง
1.4 กำหนดนโยบาย
1.5 เตรียมการจัดการอาชีว อนามัยและความปลอดภัย
ขั้นตอน 2: นำไปใช้/ ปฏิบัติ
2.1 เอกสารและระบบควบคุม เอกสาร
2.2 กฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ
2.3 โครงสร้างและความรับผิดชอบ
2.4 ฝึกอบรม สร้างจิตสำนึก ความรู้ ความสามารถ
2.5 สื่อสาร
2.6 จัดซื้อ
2.7 จัดจ้าง
2.8 ควบคุมการปฏิบัติ
2.9 เตรียมความพร้อมสำหรับ ภาวะฉุกเฉิน
2.10 เตือนอันตราย
2.11 จัดทำและเก็บบันทึก
ขั้นตอน 3: ตรวจสอบ แก้ไข ทบทวน การจัดการ
3.1 ติดตาม ตรวจสอบ วัดผลปฏิบัติ
3.2 ตรวจประเมิน
3.3 แก้ไข/ ป้องกัน
3.4 ทบทวนการจัดการ
 
 


 

ขั้นตอน 3.2 การตรวจประเมิน (Audit)

ตามข้อกำหนด 4.6.2 การตรวจประเมิน
          องค์กรต้องจัดทำและปฏิบัติตามเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานในการตรวจประเมินระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามช่วงเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ และมีการตรวจประเมินตลอดทั้งองค์กรต้องครอบคลุมขอบข่าย ความถี่ วิธีการตรวจประเมิน รวมทั้งความรับผิดชอบในการตรวจประเมิน

          โดยผู้ตรวจประเมินต้องเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการตรวจประเมินระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมีความเป็นอิสระจากกิจกรรมที่ทำการตรวจประเมิน ซึ่งอาจมาจากบุคคลภายในองค์กรก็ได้เพื่อตัดสินว่า

          (1) ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององค์กรเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้
          (2) องค์กรได้ดำเนินการและบรรลุตามนโยบายและการเตรียมการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

          แผนการตรวจประเมินขึ้นกับระดับความเสี่ยงและผลการตรวจประเมินที่ผ่านมา นอกจากนี้ต้องมีการรายงานผลการตรวจประเมิน และส่งบุคคลที่ถูกตรวจประเมินผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่ถูกตรวจประเมินรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำการแก้ไข

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อตรวจประเมินว่า ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มีอยู่นั้นสอดคล้องตามข้อกำหนดของ มอก. 18000 หรือไม่ รวมทั้งสอดคล้องตามแผนของระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่
  2. เพื่อที่จะนำผลของการตรวจระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นข้อมูลให้ฝ่ายบริหารต่อไป

32_462a
ลั่ลล้า ด๊าดี๊ดี๊ดา ..อ๊อดอ๊อด

กิจกรรม

1. การจัดเตรียมผู้ตรวจประเมิน (auditor)
1.1 คณะกก.มอก. 18000 กำหนดคุณสมบัติของ auditor ดังนี้

  • ต้องเป็นอิสระในการตรวจคือไม่ตรวจหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ
  • มีความรู้และเข้าใจข้อกำหนดมอก. 18001-2542
  • เข้าใจกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
  • ในทีมต้องมี 1 คนที่ต้องมีความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของกิจกรรมที่ไปตรวจ
  • ผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับผู้ตรวจติดตามอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและผ่านการประเมิน

1.2 จำนวน auditor

  • กำหนดให้ทีม auditor 1ทีมต่อ 3 หน่วยงาน แต่ละทีมประกอบด้วยผู้ตรวจภายในอย่างน้อย 3 คน และตรวจอย่างน้อย 3 ครั้ง/หน่วยงาน/ปี

2. การเจ้าหน้าที่จัดทำแผนตรวจประเมินภายใน (audit plan) ซึ่งมีประเด็นสำคัญได้แก่
2.1 หน่วยงานที่จะถูกตรวจประเมินภายใน (auditee)

      ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบจัดการมอก. 18000 ได้รับการ audit ครบทุกกิจกรรมที่อยู่ในขอบข่ายของระบบ รวมทั้งคณะกก.มอก. 18000 และ OHSMR

2.2 ความถี่ของการตรวจประเมินภายใน

  • ต้อง auidt อย่างน้อย 4 ครั้งในปีแรกที่จัดทำระบบ หลังจากระบบเริ่มมีประสิทธิผลในปีต่อๆไปอาจลดจำนวนลง แต่ควร audit ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี
  • กรณีกิจกรรมใดมีความเสี่ยงควรได้รับการ audit บ่อยครั้งกว่ากิจกรรมอื่น
    กรณีที่หน่วยงานหรือกิจกรรมใด audit พบข้อบกพร่องมาก ต้องพิจารณาเพิ่มความถี่ของการ audit

2.3 รายละเอียดของแผนงานตรวจประเมินภายใน ต้องระบุ

  • หน่วยงานที่จะถูกตรวจประเมิน (audit)
  • วัน เวลา สถานที่ ระยะเวลาการตรวจประเมิน (audit)
  • ข้อกำหนดต่างๆของระบบการจัดการมอก. 18000 ที่ต้องตรวจในหน่วยงานนั้นๆ
  • รายชื่อคณะผู้ตรวจประเมิน (Audit team) ซึ่งประกอบด้วย Lead auditor และคณะ
  • แผนการตรวจประเมิน (audit) ต้องได้รับการอนุมัติโดยประธานคณะกก.มอก. 18000 และต้องแจ้งรายละเอียด กำหนดการให้กับ audit team และ auditee ล่วงหน้าเพื่อเตรียมการตรวจประเมิน

32_362d
ขอเวลาตั้งตัว อยากจ๊าขอเวลาตั้งตัวนะ นะ

3. การเตรียมการก่อนตรวจประเมิน (audit)
3.1 การเตรียมการของคณะตรวจประเมินภายใน

  • Lead auditor เรียกประชุมคณะตรวจประเมินเพื่อชี้แจงรายละเอียดต่างๆของการ audit เช่น แบ่งงานที่มอบหมายให้ตรวจ เอกสารที่ควรตรวจสอบ
  • Lead auditor และคณะ ทบทวนเอกสารต่างๆของ auditee ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดที่จะไปตรวจสอบ กำหนดหัวข้อ คำถาม หรือรายการที่จะไปตรวจสอบล่วงหน้า (checklist) เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถตรวจสอบได้ครบถ้วนตามเวลา

3.2 การเตรียมการของหน่วยงานที่ถูกประเมิน (auditee)

         ผู้รับผิดชอบในหน่วยงานที่จะถูกประเมิน (auditee) ควรแจ้งกำหนดการตรวจประเมิน (audit) ให้แก่พนักงานในหน่วยทราบเพื่อเตรียมความพร้อม

4. การตรวจประเมิน (Audit) ประเด็นสำคัญที่ต้องตรวจคือ

        มีการดำเนินการสอดคล้องกับระบบการจัดการอชป.ที่คณะแพทย์กำหนด และสอดคล้องกับข้อกำหนดของมอก. 18001-2542 หรือไม่ ประสิทธิผลของการดำเนินการเป็นอย่างไร ปัญหาและแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
        ขั้นตอนการ Audit ประกอบด้วย

4.1 การประชุมก่อนการตรวจประเมิน (Opening meeting): ก่อนเริ่มการ audit ควรประชุมชี้แจงกับ auditee เพื่อ

  • แนะนำสมาชิกใน audit team
  • บอกขอบเขต วัตถุประสงค์
  • แจ้งขั้นตอนและวิธีการ audit คร่าวๆได้แก่ ตรวจเอกสาร สัมภาษณ์ และตรวจหน้างาน การให้ใบคาร์ผู้ตรวจฯ วิธีการส่งใบคาร์ผู้ตรวจฯ การติดตามการแก้ไข
  • แจ้งเวลาปิดการตรวจประเมิน (Close meeting)

4.2 รวบรวมหลักฐาน: audit team จะตรวจสอบตาม check list เป็นอย่างน้อย โดย

  • สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงาน
  • ตรวจเอกสาร (document audit) เป็นการตรวจการปฏิบัติงานโดยดูจากหลักฐานที่ปรากฎในบันทึก
  • ตรวจการปฏิบัติงานจริงที่จุดหน้างาน (site audit)
  • audit team ต้องบันทึกรายละเอียดต่างๆที่ตรวจประเมินไว้ทั้งหมด ตลอดจนระบุเอกสารที่เชื่อถือได้ในการอ้างอิง

4.3 การออกใบขอให้แก้ไขหรือใบคาร์

       คำว่า คาร์ หรือ CAR ย่อมาจาก Corrective Action Request
       เมื่อคณะ.ตรวจประเมินพบการไม่เป็นไปตามข้อกำหนดขณะ audit ให้ทิ้ง แบบรายงานการไม่เป็นไปตามข้อกำหนดฉบับคณะตรวจประเมิน หรือ R46/01 หรือเรียกย่อๆว่าเรียกว่า "
ใบคาร์ผู้ตรวจประเมิน"

        ข้อมูลการในการแจ้งใบคาร์ผู้ตรวจฯ ประกอบด้วย

  • สถานที่ -ระบุว่า ไปตรวจพบความไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดที่ไหน
  • ลักษณะความไม่สอดคล้อง -ระบุ/ บรรยายรายละเอียดว่าไม่สอดคล้องอย่างไร
  • หลักฐาน -หลักฐานความไม่สอดคล้องเช่น เอกสาร บุคคลที่เกี่ยวข้อง คำพูด สถานที่ หรือตัวผลิตภัณฑ์
  • ข้อกำหนดมอก. 18001-2542 -ระบุข้อกำหนดมอก.ที่ไม่สอดคล้องว่าเป็นข้อใด หรือเอกสารขั้นตอนปฏิบัติใด

4.4 การประชุมหลังการตรวจประเมิน (Closing meeting)

         หลังจบการ audit ต้องประชุมชี้แจงร่วมกับ auditee ทั้งหมดเพื่อให้ทราบและเข้าใจความไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดที่ตรวจพบ ให้ใบคาร์ผู้ตรวจฯ ตลอดจนหา รือร่วมกันในการแก้ไขปรับปรุงต่อไป

32_462c
เซ็งงงงเป็ด....ส้มหล่น ได้รถฟรี...ฮึฮึ...CAR

5. รายงานผลการ audit

        Lead auditor จัดทำ audit report์ รายงานการตรวจประเมินประกอบด้วย

  • หน่วยงานที่ถูก audit
  • ขอบข่ายการ audit
  • วันเดือนปีที่ audit
  • รายชื่อ audit team
  • สรุปความไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดมอก. 18001-2542 ที่พบพร้อมระบุหลักฐาน
  • สรุปข้อสังเกตเพื่อใช้ในการปรับปรุงระบบ (ถ้ามี)
  • สรุปความเห็นของ audit team ที่เกี่ยวกับประสิทธิผลของการดำเนินการ

        Lead auditor จัดทำรายงานการ audit 3 ชุดส่งให้

  • หน่วยงานที่ถูก audit (auditee)
  • การเจ้าหน้าที่เพื่อจัดทำฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
  • OHSMR

6. การติดตามแก้ไขและป้องกัน

  • หลังจากหน่วยงานได้รับใบคาร์ผู้ตรวจฯ ให้กรอกส่วนที่สอง "การแก้ไขและป้องกัน" แล้วส่งกลับมาให้ lead auditor ภายในวันเวลาที่กำหนด
  • เมื่อถึงวันกำหนดแล้วเสร็จตามระบุในใบคาร์ผู้ตรวจฯ   audit team ต้องนำใบคาร์ผู้ตรวจฯ ไปติดตามผลของการแก้ไขและป้องกัน ว่าแก้ไขตามที่ระบุ ตรวจสอบประสิทธิผล แล้วจึงกรอกส่วนที่สาม "ติดตามผล" เพื่อปิดใบคาร์ผู้ตรวจฯ
  • กรณีหน่วยงานไม่สามารถปิดใบคาร์ผู้ตรวจฯ ได้ตามกำหนด ให้ auditor ระบุในใบคาร์ผู้ตรวจฯ เดิมว่า ยังไม่เสร็จ/ ยังไม่มีประสิทธิผล และออกใบคาร์ผู้ตรวจฯ ใหม่ โดยอ้างถึงใบคาร์ผู้ตรวจฯ เดิมด้วย
  • ส่งใบ CAR เดิมให้การเจ้าหน้าที่ และทำสำเนาเก็บไว้ที่ lead auditor 1 ชุดเสมอเพื่อใช้ติดตามงานต่อไป

ึ7. สรุปผลเพื่อนำเข้าทบทวนในคณะกก.มอก. 18000

        การเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ผล สรุปความก้าวหน้ารายงานการ audit ตามข้อ 5 และรายงานการติดตามแก้ไขป้องกันด้วยใบ CAR ตามข้อ 6 เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

FLOW CHART ขั้นตอนการตรวจประเมินภายใน

32_462flow
เสร็จเหมียวจนดั้ย กรู๊ กรู๊
32_462b
Untitled Document
ถ้าคุณมีข้อเสนอแนะ/ ปัญหาในการใช้คู่มือจัดทำระบบมอก.18000 กรุณาติดต่อหน่วยอาชีวอนามัย โทร. 1167, 1548