ประวัติ
หน่วยเวชบำบัดวิกฤต (critical care medicine unit) สังกัดสาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งเป็นสาขาวิชาเวชบำบัดวิกฤต เมื่อ ปี พ.ศ. 2547 โดยในระยะแรกมีอาจารย์ 2 ท่าน คือ รศ.นพ.รังสรรค์ ภูรยานนทชัย และ รศ.นพ.บดินทร์ ขวัญนิมิตร ต่อมาได้ขยายงานการเรียนการสอนควบคู่กับงานบริการ ขยายหออภิบาลอายุรกรรมจาก 8 เตียง เป็น 10 เตียง มีอาจารย์ประจำหน่วยวิชารวม 4 คน และสามารถเปิดรับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเวชบำบัดวิกฤตได้ในปี พ.ศ. 2558

บุคลากร

ผศ.นพ.วีรพงศ์ วัฒนาวนิช
Asst. Prof. Veerapong Vattanavanit M.D.
หัวหน้าสาขาวิชา
E-mail : wweerapong@hotmail.com
โทรศัพท์ : 074-451493

รศ.นพ.รังสรรค์ ภูรยานนทชัย
Assoc. Prof. Rungsun Bhurayanontachai M.D.
E-mail : rungsun2346@yahoo.com.au
รศ.นพ.บดินทร์ ขวัญนิมิตร
Assoc. Prof. Bodin Khwannimit M.D.
E-mail : kbordin@medicine.psu.ac.th
อ.พญ.นวพร อัษณางค์กรชัย
Nawaporn Assanangkornchai M.D.
E-mail : yasatnawa@yahoo.com
ลาศึกษาต่อประเทศแคนาดา
อ.พญ. ณัฏฐกา สถาพร
Natthaka Sathaporn M.D.
E-mail : -

สายสนับสนุน
น.ส.รัตตินา จอมสุริยะ
E-mail : jrattina@medicine.psu.ac.th
ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่วิจัย ปฏิบัติการ

 

งานการเรียนการสอน  
1. รับผิดชอบการศึกษาในระดับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ในส่วนการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4-5 ในรายวิชาสุขภาพและโรคของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติสถานการณ์จำลอง (simulatiuon) นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ในวิชาเลือกเสรีเสริมประสบการณ์เวชบำบัดวิกฤต หมุนเวียนครั้งละ 2 สัปดาห์ จำนวน 1-2 คนต่อการหมุนเวียน 1 รอบ รวมทั้งรับนักศึกษาแพทย์จากต่างสถาบันและต่างประเทศมา elective ด้วย โดยกำหนดรับ 1-2 คน ต่อเดือน
2. การเรียนการสอนในระดับหลังปริญญา โดยมีแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ชั้นปีที่ 1-3 มาปฏิบัติงานหมุนเวียนในหออภิบาลผู้ป่วยอายุรกรรม
3. เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาเวชบำบัดวิกฤต ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 ปีละ 1 คน
4. กิจกรรมวิชาการประจำหน่วย
วันอังคาร เวลา 14.00-15.00 น. Topic resident
วันพุธ เวลา 10.00-11.00 น. Journal club และเวลา 14.00-15.00 น. Grand round


งานวิจัย  
หน่วยเวชบำบัดวิกฤตให้ความสำคัญกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยวิกฤต เช่น ผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) ผู้ป่วยหลังหัวใจหยุดเต้น โภชนศาสตร์ค้ำจุนในผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) ฯลฯ โดยมีผลงานการวิจัยของอาจารย์ และงานวิจัยร่วมกับแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ รวมทั้งงานวิจัยในลักษณะพหุสาขาและพหุสถาบันด้วย


งานบริการทางการแพทย์
หน่วยเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์ ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤตในหออภิบาลผู้ป่วยอายุรกรรม (medical intensive care unit, MICU) ปีละประมาณ 640 ราย (ข้อมูลปี พ.ศ. 2561) รับปรึกษาผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลในหอผู้ป่วย ICU และผู้ป่วยต่างแผนกประมาณปีละ 120 ราย ขอบเขตของการให้บริการของงานเวชบำบัดวิกฤตในปัจจุบันกว้างขวางขึ้น โดยหลักใหญ่ประกอบด้วยการรักษาจำเพาะโรค และการรักษาประคับประคองชีวิตผู้ป่วยที่มีการทำงานล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ เช่น การรักษาภาวะช็อกการช่วยหายใจในผู้ป่วยหายใจวาย ในวิธีการต่างๆ การรักษาด้วยการฟอกเลือดในผู้ป่วยไตวาย ตับวาย หรือผู้ป่วยได้รับสารพิษ การรักษาพิเศษต่าง ๆ เช่น เครื่องพยุงปอดและหัวใจเทียม (extracorporeal membrane oxygenation, ECMO) รวมทั้งการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดด้วยทีมแพทย์พยาบาลและเครื่องมือต่างๆในระบบต่างๆ หน่วยวิชามีความพยายามต่อเนื่องในการพัฒนาศักยภาพในการขยายจำนวนเตียงของหออภิบาลผู้ป่วยอายุรกรรมให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยอายุรศาสตร์ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แต่ด้วยความขาดแคลนบุคลากรด้านพยาบาล ทำให้ในปัจจุบันสามารถขยายเตียงบริการได้เพียง 10 เตียง ทั้งนี้หน่วยวิชาฯ มีโครงการขยายจำนวนเตียงบริการอย่างต่อเนื่องจนครบตามศักยภาพ ตามจำนวนบุคลากรที่ได้รับจัดสรร


งานบริการวิชาการ
1.คณาจารย์ของหน่วยวิชาเวชบำบัดวิกฤต ได้ร่วมเป็นกรรมการของ patient care team โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เช่น sepsis และ cardiac arrest
2. เป็นวิทยากรฝึกอบรมการทำหัตถการสายสวนหลอดเลือดดำสำหรับแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
2. เป็นอาจารย์พิเศษของคณะพยาบาลศาสตร์และเภสัชศาสตร์ รวมทั้งเป็นวิทยากรในการประชุมทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
3 การจัดประชุมด้านเวชบำบัดวิกฤต เช่น ECMO workshop,  ICU day เพื่อให้ความรู้แก่แพทย์และพยาบาล


งานวิจัยระดับนานาชาติของอาจารย์ในหน่วยวิชา:
ปี 2017
Vattanavanit V, Uppanisakorn S, Bhurayanontachai R, Khwannimit B. Quality of Dying in the Medical Intensive Care Unit: Comparison between Thai Buddhists and Thai Muslims. Indian J Crit Care Med 2017;21(6):359-363
Suntornlohanakul O, Khwannimit B. A comparison of residents' knowledge regarding the surviving sepsis campaign 2012 guideline. Indian Journal of Critical Care Medicine 2017; 21(2), 69-74.
Khwannimit B, Bhurayanontachai R, Vattanavanit V. Validation of the Sepsis Severity Score Compared with Updated Severity Scores in Predicting Hospital Mortality in Sepsis Patients. Shock 2017;47(6):720-725. 
Pongmanee W, Vattanavanit V. Can base excess and anion gap predict lactate level in diagnosis of septic shock? Open Access Emerg Med 2017;10:1-7.
Vattanavanit V, Kawla-Ied J, Bhurayanontachai R. High-fidelity medical simulation training improves medical students’ knowledge and confidence levels in septic shock resuscitation. Open Access Emerg Med 2017; 9:1-7
ปี 2018
Vattanavanit V, Buppodom T, Khwannimit B. Timing of antibiotic administration and lactate measurement in septic shock patients: a comparison between hospital wards and the emergency department. Infect Drug Resist 2018;11:125-132.
Khwannimit B, Bhurayanontachai R, Vattanavanit V. Comparison of the performance of SOFA, qSOFA and SIRS for predicting mortality and organ failure among sepsis patients admitted to the intensive care unit in a middle-income country. J Crit Care 2018;44:156-160. 
Bhurayanontachai R, Rattanaprapat T, Kongkamol C. Comparison of Glycemic Control between Continuous Regular Insulin Infusion and Single-dose Subcutaneous Insulin Glargine Injection in Medical Critically Ill Patients.Indian J Crit Care Med 2018;22(3):174-179.
Uppanisakorn S, Bhurayanontachai R, Boonyarat J, Kaewpradit J. National Early Warning Score (NEWS) at ICU discharge can predict early clinical deterioration after ICU transfer. J Crit Care 2018;43:225-229.
Sioson MS, Martindale R, Abayadeera A, Abouchaleh N, Aditianingsih D, Bhurayanontachai R, Chiou WC, Higashibeppu N, Mat Nor MB, Osland E, Palo JE, Ramakrishnan N, Shalabi M, Tam LN, Ern Tan JJ. Nutrition therapy for critically ill patients across the Asia-Pacific and Middle East regions: A consensus statement. Clin Nutr ESPEN 2018;24:156-164.
ปี 2019
Khwannimit B, Bhurayanontachai R, Vattanavanit V. Comparison of the accuracy of three early warning scores with SOFA score for predicting mortality in adult sepsis and septic shock patients admitted to intensive care unit. Heart Lung 2019;48(3):240-244.
Songsangjinda T, Khwannimit B. Comparison of severity score models based on different sepsis definitions to predict in-hospital mortality among sepsis patients in the Intensive Care Unit. Med Intensiva 2019: S0210-5691(18)30337-1.
Nakwan N, Chichareon P, Khwannimit B. A comparison of ventricular systolic function indices provided by VolumeView/EV1000? and left ventricular ejection fraction by echocardiography among septic shock patients. J Clin Monit Comput. 2019 Apr;33(2):233-239.
Srisawat N, Kulvichit W, Mahamitra N, Hurst C, Praditpornsilpa K, Lumlertgul N, Chuasuwan A, Trongtrakul K, Tasnarong A, Champunot R, Bhurayanontachai R, Kongwibulwut M, Chatkaew P, Oranrigsupak P, Sukmark T, Panaput T, Laohacharoenyot N, Surasit K, Keobounma T, Khositrangsikun K, Suwattanasilpa U, Pattharanitima P, Santithisadeekorn P, Wanitchanont A, Peerapornrattana S, Loaveeravat P, Leelahavanichkul A, Tiranathanagul K, Kerr SJ, Tungsanga K, Eiam-Ong S, Sitprija V, Kellum JA. The epidemiology and characteristics of acute kidney injury in the Southeast Asia intensive care unit: a prospective multicentre study. Nephrol Dial Transplant 2019 pii: gfz087. doi: 10.1093/ndt/gfz087. [Epub ahead of print]
Vattanavanit V, Uppanisakorn S, Nilmoje T. Post out-of-hospital cardiac arrest care in a tertiary care center in southern Thailand: From emergency department to intensive care unit. Hong Kong J Emerg Med 2019, in press
Daengngam C. Lethongkam S, Srisamran P, Paosen S, Wintachai P, Anantravanit B, Vattanavanit V, Voravuthikunchai S. Green fabrication of anti-bacterial biofilm layer on endotracheal tubing using silver nanoparticles embedded in polyelectrolyte multilayered film. Materials Science and Engineering C 2019; 101: 53-63.