• Introduction

สาขาอายุรศาสตร์เป็นสาขาที่สำคัญและเป็นรากฐานของวิชาการทางการแพทย์ เนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่ครอบคลุมวิทยาการแพทย์ทั้งในด้านกว้าง ด้านลึก และยังเกี่ยวข้องกับการแพทย์ในสาขาอื่นๆ โรคทางอายุรศาสตร์จึงมีความหลากหลายทั้งในด้านความชุก ความรุนแรง ความสลับซับซ้อน และความรีบด่วน และยังเป็นองค์ความรู้ที่มีความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างรวดเร็ว ซึ่งล้วนท้าทายความรู้ความสามารถของอายุรแพทย์ในการให้การวินิจฉัยโรค การดูแลรักษาแบบองค์รวม และการพยากรณ์โรค
นอกจากความรู้และทักษะด้านอายุรศาสตร์แล้ว อายุรแพทย์ยังต้องมีความสามารถด้านอื่นๆที่สำคัญได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเป็นมืออาชีพ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพของประเทศ การบริหารจัดการ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัย ตลอดจนความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กร มีความเอื้ออาทรและใสใจในความปลอดภัย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง นโยบายการผลิต
อายุรแพทย์นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความต้องการของระบบสุขภาพรวมทั้งมิติด้านอื่นๆทางสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ
โดยสาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กำหนดพันธกิจของการฝึกอบรมให้สอดคล้องไปกับพันธกิจของการฝึกอบรมของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนี้

    • ฝึกอบรมแพทย์ทางด้านอายุรศาสตร์ให้มี เจตคติ คุณธรรม จริยธรรมแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบและจิตสำนึกของความเป็นลูกพระราชบิดาโดยถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง มีความรู้ และทักษะทางด้านอายุรศาสตร์ที่สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนและสังคมในภาคใต้และระบบบริการสุขภาพที่ความหลากหลายของประเทศ
    • ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีแนวคิดและพัฒนาทักษะในการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมสามารถเรียนรู้การบริหาร ระบบคุณภาพ และธรรมาภิบาลเพื่อการทำงานเป็นทีมอย่างมีคุณภาพและมีความสุขและสามารถเป็นผู้นำทีมสุขภาพทางด้านอายุรศาสตร์ในการรักษา
    • มีความรู้ในกระบวนการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข
    • ความสามารถในการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเข้าสู่การฝึกอบรมต่อยอดทั้งภายในและต่างประเทศ

    โครงสร้างทีมบริหารของฝ่าย


    อ.พญ.ดวงกมล เอี่ยวเรืองสุรัติ

    รองหัวหน้าสาขาวิชาฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา
           

    รศ.นพ.รังสรรค์ ภูรยานนทชัย

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา

    รศ.นพ.ธีระ พิรัชวิสุทธิ์

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา

    อ.ดาวลดา คงกับพันธ์

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา

    ศ.นพ.กรีฑา ธรรมคำภีร์

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา
           

    รศ.นพ.อานุภาพ เลขะกุล

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา

    ผศ.พญ.อรุณี เดชาพันธุ์กุล

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา

    ผศ.นพ.กัมพล เอี่ยมพนากิจ

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา

    อ.นพ.พิรุฬห์ แซ่ลือ

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา
           

    อ.นพ.พัฒน์ ก่อรัตนคุณ

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา

    อ.นพ.สว่างพงษ์ จันดี

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา

    อ.พญ.สิริพรรณ สังข์มาลา

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา

    อ.นพ.สิริฃัย ชีวธนากรกุล

    กรรมการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา
           

    นางเพลินพิศ วรรณพงศ์

    เลขานุการ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา
         
           

     

    วุฒิบัตร

    ชื่อหลักสูตร
    (ภาษาไทย)               หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์
    (ภาษาอังกฤษ)         Residency Training Program in Internal Medicine


    ชื่อวุฒิบัตร
    ชื่อเต็ม
    (ภาษาไทย)             วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์
    (ภาษาอังกฤษ)         Diploma of the Thai Board of Internal Medicine


    ชื่อย่อ
    (ภาษาไทย)             ว.ว. สาขาอายุรศาสตร์
    (ภาษาอังกฤษ)         Diploma, Thai Board of Internal Medicine


    หน่วยงานที่รับผิดชอบ
    (ภาษาไทย)            สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    (ภาษาอังกฤษ)         Department of Internal Medicine, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University

     

    โครงร่างการฝึกอบรม

     

    • จำนวนและคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
      • คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

    ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคหรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรม การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (อ้างอิงตามประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย เรื่อง “คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับ พ.ศ. 2559”) รวมทั้งมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่แพทยสภากำหนด แบ่งประเภทผู้เข้าฝึกอบรมเป็น 2 ประเภท ดังนี้

        • แพทย์แผน ก

    ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผ่านการประเมินการปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะการแพทย์ (internship) โดยมีรายละเอียดข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    • ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต้นสังกัดในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี 
    • ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต้นสังกัดในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ หรือผู้สมัครไม่มีต้นสังกัดจะต้องปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
        • แพทย์แผน ข

    ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเป็นแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม และทำสัญญาปฏิบัติงานชดใช้ทุนในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยผ่านการประเมินการปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะการแพทย์ (internship)ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

      • การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม

    สาขาวิชาฯ ได้กำหนดกระบวนการคัดเลือกโดยมีการประกาศรับสมัครและเกณฑ์การคัดเลือกผ่านทางฝ่ายการศึกษาหลังปริญญาและการศึกษาต่อเนื่อง ของคณะแพทยศาสตร์ โดยมีการคัดเลือก แบ่งเป็น 2 ระบบ ดังนี้

    • แพทย์แผน ก กระบวนการคัดเลือกจะใช้การสัมภาษณ์แบบองค์รวม เพื่อประเมินถึงเจตคติ ทักษะในการสื่อสาร ความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาทางอายุรศาสตร์ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม
    • แพทย์แผน ข กระบวนการคัดเลือกใช้ Multiple mini-interview (MMI) จำนวน 4 สถานี เพื่อประเมินถึงเจตคติ ความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาทางอายุรศาสตร์ ทักษะในการสื่อสารการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จริยธรรม ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น

    สาขาวิชาฯ มีการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์ในสาขาวิชาฯ ที่มีประสบการณ์และตัวแทนผู้เข้ารับการฝึกอบรมซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผู้สมัคร โดยกรรมการสามารถให้คะแนนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ได้อย่างอิสระ โดยไม่คำนึงถึง เพศ เชื้อชาติ และศาสนา ของผู้สมัคร ผลการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม อยู่บนพื้นฐานความเสมอภาค โปร่งใส และเปิดโอกาสให้ผู้สมัครสามารถอุทธรณ์ผลได้ตามกระบวนการของคณะแพทยศาสตร์ และราชวิทยาลัยฯ อนึ่ง กระบวนการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ซึ่งสาขาวิชาฯ จะประกาศให้ผู้สมัครรับทราบล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง

      • จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

    สาขาวิชาฯ จะเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งแพทย์แผน ก และ ข จาก 17 ตำแหน่งเป็น 22 ตำแหน่ง ในปีการศึกษา 2562

    • ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม

    แพทย์ที่จบการฝึกอบรมต้องสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน ดังนี้

    • การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient care)
    • มีทักษะในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการรวบรวมข้อมูล สำหรับนำมาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม รวมทั้งการทำหัตถการที่จำเป็น
    • สามารถวินิจฉัยบำบัดรักษาภาวะผิดปกติทางอายุรศาสตร์ที่พบโดยทั่วไปในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
    • สามารถบันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ
    • มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคทางอายุรศาสตร์และสร้างเสริมสุขภาพ
    • ความรู้ ความเชี่ยวชาญ  และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical knowledge and skills)
    • มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน และความรู้ทางคลินิกด้านอายุรศาสตร์แบบองค์รวมที่สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนและสังคม
    • มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านทักษะ และหัตถการด้านอายุรศาสตร์
    • การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based learning)
    • สามารถดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อปัญหาของประเทศ
    • เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
    • ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
    • สามารถนำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
    • สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์
    • สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของความเมตตาเคารพในการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
    • มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
    • เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่น
    • ความเป็นมืออาชีพ  (Professionalism)
    • มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรมแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบและจิตสำนึกของความเป็นลูกพระราชบิดาโดยถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
    • มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous professional development)
    • มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
    • มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางการแพทย์
    • การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice) มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Cost Consciousness Medicine) สามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
    • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพและระบบยาของประเทศ 
    • มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
    • มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย
    • มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิผู้ป่วย
    • มีความรู้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมสามารถเรียนรู้การบริหาร ระบบคุณภาพและธรรมาภิบาล
    • มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีม และมีทักษะในการบริหารจัดการมีความสามารถปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ
    • มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล มีความรู้ความเข้าใจในการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมและคุ้มทุน

     

    หลักสูตรการฝึกอบรม

    เอกสารแนบไฟล์ PDF จัดส่งให้ภายหลัง

     

    กิจกรรมเสริมหลักสูตร

    1. Patient Safety and Non-technical Skills

      

     

     

    2. Learning Style

      

     

    คู่มือการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้าน (Intranet)

    คลิกDown Load ที่นี้คะ

    ลิ้งค์ที่เกียวข้อง

     
     
     

     

Untitled Document

สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 
โทรศัพท์ 0 7445 1451-2, 0 7445 1454-5 โทรสาร 0 7428 1457 E-mail address: med@medicine.psu.ac.th https://www.facebook.com/อายุรศาสตร์ มอ