ภาพ
s__124166162.jpg
Login Form



ปัญหาด้านจิตเวชและสุขภาพจิตเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศ การให้การดูรักษาผู้ป่วยและครอบครัว ต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้ความสามารถทางจิตเวชศาสตร์ มีเจตคติที่ดีทั้งต่อผู้ป่วย และมีจริยธรรม เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วย และการให้คำแนะนำในการป้องกันเป็นไปอย่างเหมาะสมมีคุณภาพ

การฝึกอบรมแพทย์เพื่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์ จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และความชำนาญทางจิตเวช ทั้งด้านการดูแลรักษา ป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟูสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วย รวมทั้งครอบครัวของผู้ป่วย เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนร่วมวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และประกอบวิชาชีพด้วยความสุจริตตามมาตรฐานและตามจรรยาบรรณจิตแพทย์

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้จัดหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้าน เพื่อผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์ขึ้น

วิสัยทัศน์/ปรัชญา ค่านิยมของสถาบันฝึกอบรมฯ

วิสัยทัศน์ :    ผลิตจิตแพทย์ที่มีคุณภาพ เข้าใจบริบทของสังคมไทย

*ปรัชญา : ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง

ประโยชน์ของเพื่อมนุษย์เป็นที่หนึ่ง

ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง

ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์

*ค่านิยม

S        =        Safety            = จิตสำนักด้านความเสี่ยงและความปลอดภัย

T        =        Team             = ทำงานเป็นทีม

E        =        Evidence base = การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

M        =        Moral            = ยึดหลักคุณธรรม/ ธรรมาภิบาล

C        =        Care              = มุ่งเน้นผู้รับบริการ

Q        =        Quality           = มุ่งเน้นคุณภาพ

I         =        Innovation      = นวัตกรรม/ ความคิดสร้างสรรค์ Creativity

*  หมายเหตุ : ตามปรัชญา และค่านิยมของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 พันธกิจหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์

เพื่อผลิตจิตแพทย์ที่มีคุณภาพ เข้าใจบริบทของสังคมไทย โดยฝึกอบรมให้แพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาจิตเวชศาสตร์ ที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยในสังคมไทย เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของระบบบริการชุมชน โดยเฉพาะภาคใต้ นอกจากนั้นยังคำนึงถึงความรับผิดชอบทางสังคม ในการป้องกัน ส่งเสริม  และฟื้นฟูสุขภาพจิตใจให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วย รวมไปถึงการทำงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และเผยแพร่ความรู้ทางจิตเวชศาสตร์ให้แก่ชุมชน สังคมในภาคใต้ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันและต่อเนื่องถึงในอนาคต ดังนั้นพันธกิจหลักในการฝึกอบรมจึงได้แก่

๑) มีความรู้ความสามารถในเวชปฏิบัติที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ และบริบทของสังคมไทย โดยเฉพาะภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม

๒) มีความสามารถในการทำงานและปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นทีม

๓) มีเจตนารมณ์และมีความพร้อมในการเรียนรู้ มีความสนใจในการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้

๔) มีความเอื้ออาทรและใส่ใจเรื่องความปลอดภัย การแก้ปัญหา และการส่งเสริมสุขภาพ โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง บนพื้นฐานของการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม

๕) มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยและญาติ รวมถึงเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพแพทย์และวิชาชีพอื่น ๆ

๖) มีความสามารถในการรักษาสุขภาพและสภาวะการทำงานของตนเองได้อย่างสมบูรณ์